Author Archives: nittaya111

About nittaya111

.............

แนวความคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน

มาตรฐาน
  1. 1.       ความหมายและความสำคัญของขวัญและกำลังใจ

                   ในการปฏิบัติงานนั้น   นอกจากจะมีระเบียบวินัย คำสั่ง เป็นตัวควบคุม

ให้บุคคลทำงานสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้แล้ว  สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งก็คือ  ความสุขกาย ความสบายใจ  ในการทำงานซึ่งความรู้สึก ดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยปัจจัยตัวกำหนด หรือเป็นพลังผลักดันให้บุคคลเกิดความกระตือรือร้นในการปฏิบัติงาน  เพราะขวัญที่ดีจะเป็นตัวกำหนด หรือเป็นพลังผลักดันให้บุคคลเกิดความกระตือรือร้นในการปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดขวัญและกำลังใจ

                         1.1 ความหมายของขวัญและกำลังใจ

                               พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2542  บัญญัติคำว่า  ขวัญ หมายถึง  มิ่งมงคล สิริ ความดี   สิ่งที่มีมีตัวตน  นิยมกันว่า อยู่ประจำชีวิตของคนตั้งแต่เกิดมา ซึ่งเชื่อกันว่าถ้าขวัญอยู่กับตัวก็เป็นสิริมงคล  เป็นสุขสบาย  จิตใจมั่นคง  ถ้าคนตกใจหรือเสีย

ขวัญ ขวัญก็ออกจากร่างไป

                               กานดา  จันทร์แย้ม  (2546 : 94)  กล่าวว่า  ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน  หมายถึง  สภาพจิตใจของบุคคลในกลุ่มหรือองค์กรที่ก่อให้เกิดกำลังใจ  ทัศนคติและความพอใจในงาน  ซึ่งจะก่อให้เกิดความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติงานในความรับผิดชอบของคนเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของกลุ่มที่วางไว้

                              สมคิด  บางโม  (2546 : 189-190)  กล่าวว่า ขวัญ (Morale)  หมายถึง  ความพึง  พอใจ และความตั้งใจในการปฏิบัติงานของบุคคล  ที่จะอุทิศทุกสิ่งอย่าง เช่น สติปัญญา แรงกาย เวลาและทรัพย์สิน  เพื่อสนองความต้องการและวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน 

                             สรุปได้ว่า  ขวัญเป็นสภาวะจิตใจ  หรือความรู้สึกของบุคคลที่เป็นพฤติกรรมแสดงออกต่อสภาพแวดล้อมหรือปัจจัยต่าง ๆ  ที่มีผลต่อการปฏิบัติงานอันเป็นสิ่งบ่งชี้ให้เห็นถึงความตั้งใจ  และทำให้เกิดกำลังใจที่จะที่จะร่วมมือร่วมใจกันปฏิบัติงานให้ประสบผลสำเร็จ  เช่น ถ้าบุคคลมีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานดี  ย่อมส่งผลต่อผลผลิตและความสำเร็จของงาน  แต่ถ้าบุคคลมีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานที่ไม่ดี  ย่อมส่งผลกระทบต่อความสำเร็จในการทำงานในแง่ที่ผลงานออกมาไม่ดี  การทำงานไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือการปฏิบัติงานล้มเหลวได้

 

 

                         1.2 ความสำคัญของขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน

                    ขวัญกำลังใจเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้บริหารจะต้องเอาใจใส่ผู้ใต้บังคับบัญชาอยู่เสมอเพราะถ้าการบำรุงขวัญที่ดีจะทำให้มีการสร้างผลงานที่มีคุณภาพให้แก่หน่วยงาน  จึงต้องมีการเสริมสร้างขวัญและบำรุงขวัญของพนักงาน  เพื่อรักษาเสถียรภาพของผู้ปฏิบัติงานให้อยู่ในระดับสูงตามความต้องการ  และส่งผลไปถึงประสิทธิภาพของงานบรรลุตามวัตถุประสงค์ขององค์การ 

                         ศิริพร  วงศ์ศรีโรจน์  (2540 :  241)  ได้กล่าวถึงความสำคัญของขวัญในการปฏิบัติงานดังนี้

                                    1.  ก่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร

                                    2.  เกิดความจงรักภักดี  ซื่อสัตย์ต่อหมู่คณะและองค์การ

                                    3.  ปฏิบัติอยู่ในกรอบแห่งระเบียบวินัยและศีลธรรมอันดีงาม

                                    4.  เกิดความสามัคคีในหมู่คณะและก่อให้เกิดพลังร่วม  (Group  Effort) และฝ่าฟันอุปสรรคทั้งหลายขององค์กรได้

                                    5.  เกิดความคิดสร้างสรรค์ในกิจการต่าง  ๆ  ขององค์กร

                                    6.  เกิดความเชื่อมั่นและศรัทธาในองค์กรที่ตนปฏิบัติอยู่

                         ระวัง  เนตรโพธิ์แก้ว  (2542 :  184)  ได้กล่าวถึงความสำคัญของขวัญในการปฏิบัติงาน  ดังนี้ 

                                    1.  เกิดความร่วมมือร่วมใจในการทำงานเป็นอย่างดี

                                    2.  ทำให้เกิดความรักความสามัคคีในหมู่เพื่อนร่วมงาน

                                    3.  เกิดความเชื่อมั่นและศรัทธาองค์การ

                                    4.  สร้างความเข้าใจระหว่างบุคคลในองค์การ

                                    5.  ทำให้เกิดความจงรักภักดีในหมู่คณะขององค์การ

                                    6.  สร้างแรงจูงใจให้บุคลากรเกิดความคิดสร้างสรรค์ในกิจการต่าง  ๆ  เพิ่มขึ้น

                         ปรียาพร  วงศ์อนุตราโรจน์  (2547 :  134-135)  ได้กล่าวถึงความสำคัญของขวัญในการปฏิบัติงานว่า  ผู้ที่มีขวัญดี  มักเป็นผู้ที่มีความสามารถในการทำงาน  ให้เป็นไปตามความมุ่งหมายของการจัดการ  จะสร้างผลงานที่คุณภาพให้กับหน่วยงาน  บุคคลที่มีขวัญจะมีพฤติกรรม  ต่อไปนี้

 

                                    1.  มีความกระตือรือร้นที่จะทำงานร่วมกัน  เพื่อให้จุดมุ่งหมายขององค์การบรรลุผล

                               2.  มีความผูกพันต่อองค์กร

                                    3.  อยู่ในระเบียบวินัยและเต็มใจที่จะทำตามกฎข้อบังคับต่าง  ๆ 

                                    4.  แม้องค์การจะมีปัญหาอย่างไร  ก็จะใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ที่จะแก้ไขปัญหานั้น  ๆ  ให้ลุล่วงไป

                                    5.  มีแรงจูงใจและความสนใจในงานอย่างมากมาย

                                    6.  มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

                                    7.  มีความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล

                         ฟลิปโป  (Flippo.1967: 364-369 )  ให้ความสำคัญแก่ขวัญในการทำงานว่าเป็นภาวะทางจิตใจที่จะทำการอุทิศตัวเพื่องานนั้น  นอกจากความสามารถในการเป็นผู้นำของผู้บริหารแล้วความพึงพอใจในลักษณะและสภาพของงานที่ปฏิบัติตามที่ได้รับมอบหมาย  หรือสมัครใจเข้าไปทำนั้นก็เป็นองค์ประกอบสำคัญต่อการสร้างขวัญและกำลังใจและการปฏิบัติงานด้วย 

                         สรุปได้ว่า  ความหมายและความสำคัญของขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน  คือ  ความเป็นนามธรรมที่ไม่มีรูปร่าง  ไม่สามารถมองเห็นได้  แต่เป็นพฤติกรรมของผู้ปฏิบัติงานซึ่งแสดงออกมาในรูปของความรู้สึกที่มีต่อผู้บังคับบัญชา  ผู้ร่วมงานผู้ใต้บังคับบัญชา  ซึ่งนั่นก็คือ  พลังรวมกลุ่มที่จะทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรด้วยดี  หากองค์กรใดมีบุคลากรที่มีขวัญกำลังใจดี  จะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิผล ผู้บริหารจำเป็นต้องให้ความสำคัญในเรื่องขวัญกำลังใจแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาทุกคน  และหาแนวทางในการเสริมสร้างและบำรุงขวัญกำลังใจของพนักงานในองค์การให้อยู่ในสภาพที่เป็นขวัญกำลังใจดี  เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ

                   1.3  ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน

                          จากปัจจัยที่มีผลกระทบต่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของนักวิชาการท่านต่าง  ๆ  สามารถพิจารณาได้ว่ามีหลายองค์ประกอบด้วยกัน  ที่จะส่งผลให้พนักงานมีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานได้  ดังต่อไปนี้

 

 

 

                                1.3.1  ลักษณะของผู้บังคับบัญชาที่มีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา  (Style  of  Superiors  Toward  Subordinates) 

                                    1)  ความหมายและลักษณะของผู้บังคับบัญชาที่มีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา

                                              ระวัง  เนตรโพธิ์แก้ว  (2542 :  185)  กล่าวถึง  ลักษณะของผู้บังคับบัญชาที่มีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา  หมายถึง  ความสัมพันธ์พื้นฐานของความร่วมมือ  ความรัก  เคารพนับถือ  ให้เกียรติซึ่งกันและกัน  ยกย่องกัน  โดยผู้บังคับบัญชาไม่ควรมองผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นเสมือนเครื่องจักร  คอยจับผิดและหาสาเหตุตำหนิติเตียน  สร้างความแตกแยกให้เกิดขึ้นระหว่างพนักงาน

                                              ทองทิพภา  วิริยะพันธุ์  (2546 :  292)  ได้กล่าวว่า  ลักษณะของผู้บังคับบัญชาที่มีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา  หมายถึง  สิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจ  รวมถึงวิธีการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาเพราะเป็นการจูงใจในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  ขวัญและกำลังใจจึงเป็นเสมือนเครื่องกระตุ้นให้เกิดพลังในการปฏิบัติงานให้มีพลังในการสร้างความดีและการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น  ทำให้สามารถสร้างสรรค์ผลงานที่ดีเป็นประโยชน์สร้างสรรค์งานที่ดีเป็นประโยชน์ต่อองค์การสูงสุด

                                           สรุปได้ว่า  ลักษณะของผู้บังคับบัญชาที่มีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา  หมายถึง  สัมพันธ์ภาพระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา  ลักษณะท่าทางหรือบทบาทของผู้บังคับบัญชาที่มีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา  มีความสำคัญต่อการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานให้เกิดขึ้นและส่งเสริมความสำเร็จขององค์กร  หากได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานที่เหมาะสมกับความรู้  ความสามารถและความสนใจ  พนักงานก็จะปฏิบัติงานด้วยความรู้สึกสนุกและมีภาคภูมิใจในความสำเร็จ

                                    2)  คุณลักษณะของผู้บังคับบัญชาที่มุ่งต่อพนักงาน

                                            ศิริพร  วงศ์ศรีโรจน์  (2540: 207) ได้กล่าวถึง  คุณลักษณะที่สำคัญของผู้บังคับบัญชาที่มุ่งต่อพนักงาน  ดังต่อไปนี้

                                            2.1)  มีความมั่นคงในความเป็นผู้นำ  เห็นคุณค่าของพนักงานเสมอ  สนใจในความสำเร็จและทุกข์ของพนักงานในบังคับบัญชาอย่างจริงใจ

                                            2.2)  ปฏิบัติตนให้เป็นผู้ให้ความช่วยเหลือสนับสนุนแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาเสมอ

                                                              สรุปได้ว่าคุณลักษณะของพนักงานที่มุ่งต่อพนักงาน  คือ  การช่วยเหลือในเรื่องต่าง ๆ  สนใจและเห็นคุณค่าของพนักงาน  ไม่เอารัดเอาเปรียบหรือมุ่งแต่ประโยชน์ขององค์กรเพียงอย่างเดียว

                                          3)  คุณสมบัติของผู้บังคับบัญชาที่ดี

                                              สัมพันธ์  ภู่ไพบูลย์  (2542 : 105 )   ได้กล่าวไว้ว่า ผู้บังคับบัญชาเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญต่อองค์การ  ผู้ใต้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน  ผู้บังคับบัญชามีหลายรูปแบบ  เช่น  ผู้บังคับบัญชาแบบนิ่มนวล  ผู้บังคับบัญชาแบบเผด็จการ  ผู้บังคับบัญชาแบบมุ่งแต่งาน  ในการเป็นผู้บังคับบัญชาที่ดีจะต้องมีคุณสมบัติพร้อมดังนี้

                                            3.1)  มีความเข้าใจเรื่องจิตวิทยาและพฤติกรรมของมนุษย์มีทัศนคติที่ดีและเข้าใจปัญหาต่าง  ๆ  ที่เกิดขึ้นเก็บผู้ใต้บังคับบัญชา

                                            3.2)  มีลักษณะเป็นผู้บังคับบัญชาที่ดี  เป็นที่ศรัทธาของผู้ใต้บังคับบัญชา  เป็นตัวอย่างที่ดีทั้งในด้านความคิดและพฤติกรรม

                                          3.3)  มีการตัดสินใจที่ถูกต้องภายใต้ภาวการณ์ต่าง  ๆ  มีปฏิภาณไหวพริบดี  และมีความสามารถในการประสานงาน

                                          3.4)  ไม่เคร่งครัดต่ออำนาจหน้าที่อย่างเป็นทางการมากจนเกินไป  มีความซื่อสัตย์  อารมณ์มั่นคงและรับผิดชอบต่อคำสั่งต่าง  ๆ 

                                         3.5)  มีทักษะด้านเทคนิคที่เพียงพอในการสั่งงานทั้ง  3  ด้าน  คือ  ทักษะด้านความคิด  ทักษะด้านมนุษย์และทักษะด้านเทคนิค  ความเข้มของทักษะทั้ง  3  ขั้นอยู่กับระดับของผู้บังคับบัญชา

                                    สรุปได้ว่า  คุณสมบัติของผู้บังคับบัญชาที่ดี  ต้องเป็นผู้บังคับบัญชาที่มีบทบาทสำคัญต่อองค์การ  ผู้ใต้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน  รวมทั้งเป็นตัวอย่างที่ดีในการปฏิบัติงานให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา

4)    ความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานและอำนาจบริหาร

                                            เสนาะ  ติเยาว์ (2544 :   293)  ได้กล่าวว่า  ภายในองค์การ

ผู้บริหารย่อมมีความสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชา  ผู้บังคับบัญชาอื่น  เพื่อนร่วมงาน  ผู้ใต้บังคับบัญชาโดยตรง  ผู้ใต้บังคับอื่น  ๆ  และพนักงานระดับล่าง  ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลนี้นับว่าเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งส่งผลโดยตรงต่อความสำเร็จและความล้มเหลวในการบริหารงาน  อาจกล่าวได้ว่า  ความสัมพันธ์เป็นอำนาจอย่างหนึ่งในการเป็นผู้นำ  รวมทั้งการใช้การจูงใจในการปฏิบัติงานเป็นทีมและการสื่อสาร  ผู้บังคับบัญชาอาจให้ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลก่อให้เกิดอำนาจการบริหารได้  4  อย่าง  คือ 

                                           4.1)  การให้เกิดอำนาจหรืออิทธิพลทางบวก  คือ  ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบุคคล  จะเป็นอำนาจในการส่งเสริมและชักนำบุคคลให้มีพฤติกรรมคล้อยตามผู้บริหาร

                                           4.2)  การบริหารความขัดแย้ง  คือ  ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่ดีอาจใช้เป็นอำนาจในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นในสถานการณ์ต่าง  ๆ 

                                            4.3)  การเจรจาเพื่อนำไปสู่ข้อตกลง  ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลอาจนำไปใช้ให้บรรลุข้อตกลงต่าง  ๆ  ได้  ไม่ว่าจะเป็นการตกลงกันระหว่างบุคคลหรือระหว่างกลุ่ม

                                          4.4)  การบริหารความเครียด  การรักษาความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบุคคลอาจนำไปใช้ในการบริหารความเครียดในการปฏิบัติงานไม่ว่าจะเป็นความเครียดที่เกิดในตัวบุคคลหรือกลุ่ม

                                          สรุปได้ว่า  ความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานและอำนาจการบริหาร  คือ  ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบุคคล  จะเป็นอำนาจในการส่งเสริมและชักนำบุคคลให้มีพฤติกรรมคล้อยตาม  รวมถึงการรักษาความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบุคคล

                                          5)  เทคนิคการสร้างมนุษย์สัมพันธ์

                                            ยงยุทธ  เกษสาคร  (2547 :  172-174) ได้กล่าวว่า  หากผู้บังคับบัญชาให้ความเป็นกันเอง  มีมนุษย์สัมพันธ์อันดีต่อกันและกัน  จะทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานที่ดีด้วยเช่นกัน  การสร้างมนุษย์สัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน  มีเทคนิคดังนี้

                                            5.1)  ความเชื่อถือในคุณภาพของบุคคลในองค์การ  คือ  การสร้างทัศนคติที่ดีต่อกัน  เห็นความสำคัญของความเป็นมนุษย์  ซึ่งมีความแตกต่างกันไม่ว่าจะเป็นเหตุจากเพศ  อายุ  วุฒิการศึกษา  ตลอดจนประสบการณ์ต่าง  ๆ  เหล่านี้มีส่วนเสริมสร้างให้ความคิดของแต่ละบุคคลแตกต่างกัน  ผู้นำต้องรู้จักวิธีผสมผสานความคิดที่แตกต่างกันให้เกิดเป็นแนวทางการปฏิบัติงานที่เป็นประโยชน์ต่อองค์การให้มากที่สุด

                                            5.2)  เอาใจเขามาใส่ใจเรา  เป็นการแสดงออกให้เห็นถึงความรู้สึกเห็นอกเห็นใจเพื่อนร่วมงาน  เช่น  การพูดจาหรือการกระทำที่อาจก่อให้เกิดความรู้สึกไม่พอใจหรือท้อแท้ใจ

 

 

                                            5.3)  แสดงความห่วงใย  พนักงานจะเกิดความรู้สึกว่าตนมีคุณค่าหรือมีความหมายต่อกลุ่มหรือต่อองค์การมากขึ้น  ถ้ามีบุคคลมาสนใจหรือมาแสดงความห่วงใยเมื่อเหตุการณ์ต่าง  ๆ  ขึ้นในองค์การ  เช่น  ผู้ใต้บังคับบัญชาหายหน้าไป  2-3  วัน  เมื่อผู้บังคับบัญชามาพบผู้ใต้บังคับบัญชา  ก็อาจจะแสดงความห่วงใยด้วยการถามถึงสาเหตุที่หายหน้าไป  ถ้ามีอะไรให้ช่วยเหลือก็ขอให้บอก  เป็นต้น  ถ้าผู้บังคับบัญชาแสดงความห่วงใยต่อพนักงาน  พนักงานก็จะห่วงงานของผู้บังคับบัญชาเช่นกัน

                                            5.4 )  คิดพิจารณาให้รอบคอบก่อน  การสื่อสารนับเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดเรื่องหนึ่งของการสร้างมนุษย์สัมพันธ์  เพราะการสื่อสารสามารถจูงใจให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกและความคิด  ไม่ว่าจะเป็นไปในทางบวกหรือลบ  การศึกษาและเรียนรู้เกี่ยวกับศิลปะการพูด  จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากสำหรับภาวะผู้นำในการสร้างมนุษย์สัมพันธ์

                                            5.5)  กิริยาที่แสดงออกเท่ากับปฏิกิริยาตอบรับ  เทคนิคนี้ได้แนวคิดจากหลักการทางฟิสิกส์ที่ว่าการกระทำเท่ากับปฏิกิริยาตอบสนอง  คือ  การพูดจาหรือพฤติกรรมที่มีต่อผู้อื่น  ย่อมได้รับการตอบสนองอย่างไม่สุภาพด้วยเช่นกัน  พฤติกรรมหรือการกระทำที่ผู้บังคับบัญชาแสดงกับผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างไรก็จะมีส่วนให้พนักงานสร้างพฤติกรรมหรือการกระทำแบบเดียวกัน

                                            5.6)  ปรับเปลี่ยนวิกฤตความขัดแย้งที่เกิดขึ้นให้เป็นโอกาส  ความขัดแย้งเป็นสภาพการณ์ที่บุคคลเกิดความรู้สึกคับข้องใจหรือไม่พอใจในสิ่งที่เกิดขึ้น  ซึ่งแตกต่างจากที่คิด  ขอให้ระลึกไว้เสมอว่าผู้บังคับบัญชาไม่สามารถหลีกเลี่ยงความขัดแย้งทางความคิดและการขัดแย้งทางความคิดและการขัดใจได้  แต่ควรมีการทบทวนความคิดที่หลากหลายและเหตุผลต่าง  ๆ  ที่มีอย่าให้มากที่สุด  โดยปราศจากอคติ  ขอให้มองความขัดแย้งไปในเชิงสร้างสรรค์  ซึ่งจะเป็นผลดีต่อความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ร่วมงานและต่อผลการปฏิบัติงานด้วย

                                            5.7)  ความพอใจด้านสังคม  พนักงานมีความต้องการความพอใจทางสังคม  เช่น  ความสัมพันธ์กันเป็นส่วนตัวและปรารถนาที่จะรับการยอมรับ  ความต้องการที่จะสร้างความสัมพันธ์กันของบุคคลในองค์การในองค์การมีแนวโน้มมาจากทัศนคติ  ความรู้สึกและความเชื่อในลักษณะที่คล้อยคลึงกันและในลักษณะที่แตกต่างกันซึ่งบุคคลมีต่อกัน 

                                              สรุปได้ว่า  เทคนิคการสร้างมนุษย์สัมพันธ์  คือ  การสร้างทัศนคติที่ดีต่อกันเห็นความสำคัญของความเป็นมนุษย์  แสดงความห่วงใยซึ่งกันและกัน  การพูดจาหรือการแสดงพฤติกรรมที่มีต่อผู้อื่น 

                             1.3.2  ความสนใจในหน้าที่การงานปฏิบัติ  (Satisfaction  in  The  Work  at  Pratice) 

                                    1)  ความหมายของความพอใจหน้าที่การงานที่ปฏิบัติ

                                    สุรพล  พะยอมแย้ม  (2541 : 70  )   ให้คำกำจัดความไว้ว่า  ความพอใจในหน้าที่การงานที่ปฏิบัติ  หมายถึง  ความพอใจในงานของพนักงานที่มีส่วนเกี่ยวพันกับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานเป็นอันมาก  มีปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับความพึ่งพอใจของพนักงาน  เช่น  ความมั่นคงในงาน  ความก้าวหน้า  ลักษณะของงานที่ปฏิบัติและเพื่อนร่วมงาน  เป็นต้น  ถ้าพนักงานมีความรู้สึกว่างงานที่ปฏิบัติมีความมั่นคง  มองเห็นโอกาสที่จะก้าวหน้าไปในองค์กร  งานที่ปฏิบัติอยู่เป็นที่น่าสนใจ  ตรงกับความรู้ความสามารถผลประโยชน์ตอบแทนอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ  รวมทั้งมีเพื่อนร่วมงานที่ดี  สามารถปฏิบัติงานร่วมกันอย่างเป็นสุข  ก็จะให้พนักงานมีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานสูง

                             ระวัง  เนตรโพธิ์แก้ว  (2542 : 186 )  ได้กล่าวถึง  ความพอใจในหน้าที่การเงินที่ปฏิบัติ  หมายถึง  สภาวการณ์ที่มีอารมณ์ที่ดี  เกิดจากการประเมินเหตุการณ์  แล้วมีความรู้สึกชอบด้วยความยินดีทั้งร่างกายและจิตใจ  ทำให้มีความปลาบปลื้มและมีความสุขกายสุขใจ  มีความพึงพอใจเกี่ยวข้องกับขวัญและกำลังใจเป็นอย่างมาก  ถ้ามีความไม่พอใจเกิดขึ้น  ก็จะทำให้ไม่มีขวัญและกำลังใจในการเกิดขึ้นด้วยเช่นกัน

                        พูลสุข  สังข์รุ่ง  (2547 : 145 )  ได้ให้ความหมายของความพอใจในหน้าที่การงานที่ปฏิบัติ  หมายถึง  ปัจจัยที่ทำให้พนักงานเกิดความพอใจในงานที่ปฏิบัติสามารถแยกออกจากปัจจัยที่ทำให้เกิดความไม่พอใจในงาน  เช่น  การเสนอเพิ่มเงินให้แก่พนักงานสามารถนำไปสู่การไม่พอใจได้  แต่ไม่จริงเสมอไปสำหรับความไม่พอใจแท้จริงต่องาน  พนักงานที่รับผิดชอบในการปฏิบัติงานน้อยทำให้มีความพอใจน้อยไปด้วย  การเสนอให้เงินเพิ่มขึ้นไม่สามารถแทนที่การมีโอกาสที่ได้ปฏิบัติงานเต็มความสามารถและความพอใจ  โดยปกติพนักงานจะอยู่ในสภาวะกลาง  ๆ  ของความรู้สึกเป็นสุขและความเป็นทุกข์แต่ก็ปฏิบัติงานไปตามปกติ  ปัจจัยทางลบเกี่ยวกับงานที่ปฏิบัติซึ่งทำให้พนักงานลดความพึงพอใจและการปฏิบัติงานลง  ไม่สามารถทำให้พนักงานกลับสู่สภาวะที่เป็นกลางได้  ปัจจัยทางบวกได้พนักงานเกิดความพึงพอใจในงานและถ้าพนักงานไม่มีความพอใจในงาน  ก็จะทำให้พนักงานกลับสู่สภาวะเป็นกลางอีก

 

                   สรุปได้ว่า  ความพอใจในหน้าที่การงานที่ปฏิบัติ  หมายถึง  ความรู้สึกโดยรวมจากการปฏิบัติงาน  เพื่อนร่วมงาน  ความพอใจเกี่ยวกับรายได้  ปริมาณของงานที่ปฏิบัติเป็นงานที่เปิดโอกาสให้ใช้ความรู้ความสามารถ  ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  ความภาคภูมิใจในหน้าที่  องค์การเป็นที่ยอมรับจากสังคมภายนอก  ผู้ปฏิบัติงานจะพอใจในหน้าที่การเงินที่ปฏิบัติเป็นอย่างมาก  และผลงานที่เกิดจากการกระทำด้วยใจรักจะดีและมีคุณค่ากว่าผลงานที่ปฏิบัติโดยไม่ชอบและพึงพอใจ

                   2)  ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความพอใจในงานที่ปฏิบัติ

                           เสนาะ  ติเยาว์  (2544 : 228)   ได้กล่าวถึง   ความพอใจในการปฏิบัติงานว่าเป็นระดับความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากผู้ปฏิบัติงานในทางบวกหรือทางลบต่องาน  ปัจจัยที่ทำให้พนักงานเกิดความพอใจในการปฏิบัติงานมีดังนี้

                         2.1)  ลักษณะงานที่ปฏิบัติ  ส่งผลกระทบต่อความสำเร็จในการ

ปฏิบัติงาน  ความรับผิดชอบในงานและความรู้สึกภาคภูมิใจในงาน

                         2.2)  ระบบค่าตอบแทน  สะท้อนให้เห็นถึงความมีคุณค่าของผู้ปฏิบัติงาน

                         2.3)  สภาพการปฏิบัติงาน  มีความสำคัญเพราะกระทบต่อความต้องการทางร่างกายและส่งผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติของผู้ปฏิบัติงาน

                         2.4)  นโยบายและฝ่ายบริหารขององค์กร  สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จในการปฏิบัติงาน  ความรับผิดชอบและบทบาทของผู้ปฏิบัติงาน

                         2.5)  ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานและผู้ใต้บังคับบัญชา  เพราะสะท้อนถึงความสำเร็จในการปฏิบัติงานและความพอใจในสังคม

                         2.6)  ความก้าวหน้าในงาน  ทั้งในตำแหน่งงานและพัฒนาด้านความรู้ความชำนาญในการปฏิบัติงาน

                   สรุปได้ว่า  ปัจจัยที่มีผลกระทบความพอใจในงานที่ปฏิบัติ  คือลักษณะงานที่ปฏิบัติ  ระบบค่าตอบแทน  สภาพการงานปฏิบัติงาน  นโยบายและฝ่ายบริหารขององค์การความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานและผู้ใต้บังคับบัญชา  ความก้าวหน้าในงาน  เป็นต้น  สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานทั้งสิ้น

 

 

 

 

                   1.3.3  จุดมุ่งหมายหลักและนโยบายการดำเนินงาน (Primary  Purpose  and  Policy  Operations) 

                         1)  ความหมายของจุดมุ่งหมายหลักการดำเนินงาน

                        ประชุม  รอดประเสริฐ  (2543 :  120 )  ได้กล่าวไว้ว่า  จุดมุ่งหมายหลักการดำเนินงาน  หมายถึง  ข้อความที่ว่าด้วยค่านิยมและทัศนคติของผู้ประกอบการที่มีต่อองค์การที่ตนจัดตั้งขึ้น   โดยปกติจุดมุ่งหมายหลักจะเป็นข้อความกว้าง  ๆ  ที่ไม่ระบุเฉพาะเจาะจงวันเวลาและเป้าหมายที่แน่นอนลงไป  จุดมุ่งหมายหลักเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของกระบวนการวางแผนที่สามารถก่อให้เกิดผลสำเร็จระยะยาวแก่หน่วยงานหรือองค์กร

                               พูลสุข  สังข์รุ่ง  (2547 :  220)  ได้ให้ความของจุดมุ่งหมายหลักการดำเนินงาน  หมายถึง  การกำหนดนโยบายและวางแผนขององค์การ  ซึ่งควรคำนึงถึงประโยชน์ส่วนร่วมของพนักงานและองค์การที่สำคัญอย่างยิ่งคือ  นโยบายจะต้องชัดเจน  แจ่มแจ้ง  บุคลากรในองค์กรสามารถเข้าใจได้  เพื่อจะเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานได้ตามจุดมุ่งหมายขององค์การ

                   สรุปได้ว่า  จุดมุ่งหมายหลักการดำเนินงาน  หมายถึง  การกำหนดนโยบายและการวางแผนขององค์การ  ซึ่งเป็นข้อความที่ว่าด้วยค่านิยมและทัศนคติของผู้ประกอบการที่มีต่อองค์การที่ตนจัดตั้งขึ้น

                          2)  การกำหนดจุดมุ่งหมายหลักการดำเนินงาน

                                ประชุม  รอดประเสริฐ  (2543 :  152)  กล่าวว่า กระบวนการในการกำหนดจุดมุ่งหมายหลักการดำเนินงาน  มีลักษณะที่คล้ายคลึงกับกระบวนการกำหนดวัตถุประสงค์  อย่างไรก็ตามจุดมุ่งหมายหลักจะต้องมีความรัดกุมและมีความเกี่ยวพันกับผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินหรือสอดคล้องกับวัตถุประสงค์  ลักษณะของจุดมุ่งหมายหลักที่ดี

                                พูลศักดิ์  พุ่มวิเศษ  (2540 : 1)  กล่าวว่านโยบายในการดำเนินงาน 

หมายถึง  สิ่งที่ได้กำหนดไว้เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานด้านต่าง  ๆ  ที่เกี่ยวข้อง

กับนโยบาย  ซึ่งผู้บริหารในระดับต่าง  ๆ  หรือผู้ปฏิบัติงานจะต้องนำไปเป็นกรอบแนวคิดในการพิจารณาตัดสินใจ  เพื่อทำแผนจัดทำโครงการและกำหนดวิธีการดำเนินงาน

                           ระวัง  เนตรโพธิ์แก้ว  (2542  :   120)  ได้ให้คำจำกัดความว่า  นโยบายการดำเนินงาน  หมายถึง  แนวทางการบริหารที่ดีจะต้องมีการกระจายอำนาจและหน้าที่เพื่อการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด  การมอบหมายภารกิจในการปฏิบัติงานจะต้องเป็นไปอย่างเหมาะสม  นโยบายการดำเนินการปฏิบัติงานควรจะมีความชัดเจนและเป็นรูปธรรม

                             สุภาพร  ตันติสันติสน  (2545 : 1)  ได้ให้ความหมายไว้ว่านโยบายการดำเนินงานทางธุรกิจ  หมายถึง  แนวทางกว้าง  ๆ  ที่ใช้ในการตัดสินใจเพื่อดำเนินงานหรือปฏิบัติให้องค์การบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้  นโยบายการดำเนินงานทางธุรกิจมุ่งเน้นให้มีการรวบรวมเอาความรู้ด้านการบริหารธุรกิจสาขาต่าง  ๆ  เช่น  การตลาด  การเงิน  การบัญชี  การผลิต  และการบริหารทรัพยากรมนุษย์  การวิจัยและการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศมาใช้ในการวิเคราะห์ปัญหาทางธุรกิจ  วิเคราะห์การดำเนินงานขององค์การ  เพื่อเสนอนโยบายการดำเนินงานด้านต่าง  ๆ  เช่น  นโยบายในการดำเนินงานทางธุรกิจถือเป็นนโยบายหลักขององค์กรที่จะสะท้อนให้เห็นถึงปรัชญาในการปฏิบัติงาน  เช่น   มุ่งมั่นในความเป็นเลิศ  ยึดมั่นในความเป็นธรรมและรับผิดชอบต่อสังคม

                         สรุปได้ว่า  นโยบายการดำเนินงาน  หมายถึง  สิ่งที่กำหนดไว้เพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติซึ่งระบุถึงระเบียบวิธีและหลักการที่ได้เลือกกำหนดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการ

                   4)  ข้อควรคำนึงในการกำหนดนโยบาย 

                          ประชุม  รอดประเสริฐ  (2543 : 34 )   หมายถึง  การกำหนดนโยบายว่าเป็นเรื่องที่ยุ่งยากสลับซับซ้อนอยู่ไม่น้อยสำหรับผู้บริหารหรือผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่  เพราะนอกจากจะเป็นผู้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด  มีไหวพริบสัญชาตญาณดียังต้องเป็นผู้มีความสุขุมรอบคอบและมีความรู้ในการวิเคราะห์ข้อมูลหรือข่าวสารต่าง  ๆ  ทั้งนี้เพื่อความถูกต้องและมีลักษณะเป็นนโยบายการดำเนินงาน  นอกจากนี้การกำหนดนโยบายการดำเนินงานเพื่อการบริหารงานใด  ๆ  เป็นกระบวนการที่จะต้องใช้เวลา  เสียทุนทรัพย์และเปลืองกำลังความคิดเป็นจำนวนมาก  หากนโยบายการดำเนินงานที่กำหนดขึ้นไม่สามารถอำนวยประโยชน์กับการบริหารงานตามสมควรแล้ว  การลงทุนด้วยทรัพยากรต่าง  ๆ  จึงเป็นการสูญเสียเปล่า  ร่วมทั้งการบริหารงานย่อมไม่ประสบความสำเร็จ  ในการกำหนดนโยบายการดำเนินงานเพื่อการใดก็ตาม  ควรคำนึงถึงข้ออันสมควรพิจารณาดังต่อไปนี้ 

                         4.1)  การกำหนดนโยบายการดำเนินงานจะต้องคำนึงถึงจุดประสงค์หลักขององค์กรหรือหน่วยงาน  โดยพิจารณาว่าองค์การหรือหน่วยงานมีภาระรับผิดชอบงานชนิดใดแล้วจึงกำหนดนโยบายการดำเนินงานโดยดำเนินงานโดยไม่คำนึงถึงจุดประสงค์หลักย่อมได้ผลงานที่ไม่แน่นอนหรืออาจไม่ได้ผลงานตามที่ต้องการ

                          4.2)  การกำหนดนโยบายการดำเนินงานต้องคำนึงถึงความต้องการของพนักงานส่วนใหญ่  ซึ่งจะไม่เป็นสาเหตุของความขัดแย้งภายในหน่วยงาน

                         4.3)  การกำหนดนโยบายการดำเนินงานจะต้องคำนึงถึงเหตุผลและความเป็นไปได้  โดยลักษณะนี้ผู้จัดทำนโยบายการดำเนินงานจะต้องพิจารณาถึงปัจจัยและสิ่งแวดล้อม  เช่น  ฐานะทางเศรษฐกิจของหน่วยงาน  ระเบียบและกฎหมายของสังคมวัฒนธรรม  ค่านิยมและความเชื่อของสังคมส่วนร่วม  หากการกำหนดนโยบายการดำเนินงานเปรียบได้กับเกิดความเป็นจริงหรือเกินความสามารถของหน่วยงาน  นโยบายการดำเนินงานเปรียบได้กับการสร้างวิมานในอากาศที่ไม่อาจปฏิบัติได้  นอกจากนี้การกำหนดนโยบายการดำเนินงานจะต้องจัดเป็นลำดับก่อนหลังในลักษณะสิ่งใดควรดำเนินการก่อน  และสิ่งใดควรดำเนินงานตามความจำเป็น

                      4.4)  การกำหนดนโยบายการดำเนินงานต้องคำนึงในด้านของความรู้ความสามารถของผู้ปฏิบัติ  โดยต้องคิดและเตรียมไว้ก่อนล่วงหน้าว่าการกำหนดสิ่งหนึ่งใดลงไป  ผู้ปฏิบัติสามารถเข้าใจได้และมีความรู้เพียงพอที่จะหาวิธีดำเนินงานให้บรรลุจุดประสงค์หลักขององค์การ  การกำหนดนโยบายการดำเนินงานโดยไม่คำนึงถึงผู้ปฏิบัติย่อมเปรียบได้กับจินตนาการหรือความเพ้อฝันของผู้กำหนดแต่เพียงผู้เดียว  นอกจากนี้ในบางข้อความของนโยบายการดำเนินงานที่ต้องมีการพิจารณาตีความ  จะต้องได้รับการพิจารณาตีความอย่างรอบคอบและแปลความออกมาอย่างชัดเจนเป็นที่เข้าใจและยอมรับของผู้ปฏิบัติ

                         สรุปได้ว่า  ข้อควรคำนึงในการกำหนดนโยบาย  คือ  การพิจารณาว่าองค์การหรือหน่วยงานมีภาระรับผิดชอบชนิดใด  แล้วจึงกำหนดนโยบายการดำเนินงานให้สอดคล้องกับภาระรับผิดชอบของหน่วยงาน

                         สรุปร่วมได้ว่า  จุดมุ่งหมายหลักและนโยบายการดำเนินงาน  คือ  วัตถุประสงค์หรือจุดหมายของแผนงานที่กำหนดอย่างชัดเจน  มีความเหมาะสมหน่วยงานพนักงานสามารถปฏิบัติตามจุดมุ่งหมายหลักและนโยบายที่วางไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ซึ่งคำนึงถึงประโยชน์ส่วนร่วมขององค์การและพนักงานเป็นหลัก  เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงหน่วยงานควรแจ้งให้ทราบเสมอ  และจะต้องคำนึงถึงเหตุผล  ความจำเป็นและสภาพแวดล้อมเป็นหลัก

                   1.3.4  การให้บำเหน็จรางวัล  (Reward)  

                        1)  ความหมายของการให้บำเหน็จรางวัล

                              พงศ์  หรดาล  (2540: 91)ได้ให้ความว่า  การให้บำเหน็จรางวัล  หมายถึงสิ่งต่าง  ๆ  ที่นอกเหนือจากค่าตอบแทน  ค่าจ้าง  หรือค่าตอบแทน  เช่น  ถ้ามีการให้รางวัลมีเงินเดือนขึ้นสม่ำเสมอ  มีการแบ่งเป็นรายได้ที่นอกเหนือจากค่าตอบแทนหรือเมื่อเกิดอุบัติเหตุก็จ่ายเงินชดเชยให้อย่างยุติธรรม  พนักงานก็จะมีขวัญและกำลังใจสูง

                               ปรียาพร  วงศ์อนุตรโรจน์  (2541 : 142)  กล่าวถึง  การให้บำเหน็จรางวัล  หมายถึง  การเลื่อนขั้น  เลื่อนตำแหน่งแก่ผู้ปฏิบัติงานดี  รวมถึงโบนัส  สิ่งเหล่านี้ย่อมเป็นแรงจูงใจให้ผู้ใต้บังคับบัญชา  มีความขยันขันแข็งในการปฏิบัติงาน  และปฏิบัติงานอย่างมั่นใจให้  พนักงานมีขวัญและกำลังใจดีในการปฏิบัติงาน

                          ระวัง   เนตรโพธิ์แก้ว  (2542: 183 ) ได้กล่าวถึง  การให้บำเหน็จรางวัล  หมายถึง  การสร้างความรู้สึกที่ดี  โดยปกติจะพิจารณาจากผลงานและในบางครั้งก็พิจารณาจากความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล  ซึ่งระบบการให้รางวัลจะช่วยกระตุ้นการปฏิบัติงาน  สร้างขวัญและกำลังใจและกำลังใจแก่พนักงานในการปฏิบัติงาน

                          สรุปได้ว่า   การให้บำเหน็จรางวัล  หมายถึง  สิ่งต่าง  ๆ  อันได้แก่  การเลื่อนขั้น  เลื่อนตำแหน่ง  โบนัสรางวัลและสวัสดิการที่หน่วยงานจัดให้แก่พนักงาน  ซึ่งการให้บำเหน็จรางวัล  จึงไม่ใช่ลักษณะของการจูงใจด้วยเงินและการให้บำเหน็จรางวัลพนักงานอย่างยุติธรรมก็จะทำให้พนักงานมีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน

                        2) ระบบค่าตอบแทน 

                               เสนาะ  ติเยาว์  (2544 : 225-226)   กล่าวถึง  การให้บำเหน็จ

รางวัลว่า  เป็นการจูงใจ  เพื่อกระตุ้นให้พนักงานมีกำลังใจในการปฏิบัติงาน  ซึ่งระบบค่าตอบแทนจูงใจนี้ทำให้องค์การได้ประโยชน์มาก  จากวิธีการจ่ายบำเหน็จหลาย  ๆ  แบบ  ดังนี้ 

                               2.1)  แผนการจ่ายโบนัส  (Bonus  Pay  Plan)  ได้แก่  การจ่ายเงินก้อนโตครั้งเดียวแก่พนักงาน  โดยคิดจากผลงานที่ปฏิบัติสำเร็จตามเป้าหมายหรือจากการมีส่วนร่วม  เช่น  การออกความคิดเห็นในการปรับปรุงให้ดีขึ้น  ตามปกติผู้ที่ปฏิบัติงานพิเศษจะไม่ได้รับการพิจารณาขึ้นเงินเดือนหรือค่าจ้าง  การเงินโบนัสมักจะจ่ายให้ผู้บริหารเท่านั้นแต่ปัจจุบันได้ขยายไปยังพนักงานด้วย 

                                2.2)  การแบ่งกำไร  (Profit  -Sharing  plan)  คือการแบ่งกำไรให้กับพนักงาน  การเพิ่มกำไรจะทำให้พนักงานทุกระดับมีขวัญและกำลังใจที่ดี   โดยแบ่งตามสัดส่วนของกำไรที่ทำในงวด  จำนวนกำไรที่แบ่งขึ้นอยู่กับกำไรและอัตราเงินเดือนของพนักงานแต่ตามข้อเท็จจริงจำนวนกำไรที่แบ่งแน่นอนจะต้องนำเอาผลการปฏิบัติงาน  การมาปฏิบัติงานและการขาดงานมาคิดด้วย

                              2.3)  แผนการแบ่งประโยชน์ (Gain –Sharing  Plan)   คือการประหยัดค่าใช้จ่าย  การเพิ่มผลผลิตอันเกิดจากความทุ่มเทความพยายามใด  ๆ  ให้องค์การ  การคิดมักจะอาศัยการปฏิบัติงานและการมีส่วนร่วมที่ทำให้เกิดการประหยัดค่าใช้จ่าย

                               2.4)  แผนเป็นเจ้าของทุน (Employee  Stock  Ownership  Plan)   คือการให้พนักงานมีสิทธิซื้อหุ้นของบริษัทที่พนักงานปฏิบัติงานเป็นการสร้างความมั่นคงในการปฏิบัติงานและป้องกันการปิดกิจการ  การจูงใจพนักงานให้ซื้อหุ้นมักจะใช้วิธีให้สิทธิซื้อในราคาคงที่จำนวนหนึ่งภายในระยะเวลาที่กำหนดสิทธิที่จะเป็นเจ้าของหุ้นจะต้องพิจารณาผลการปฏิบัติงานเพราะถือว่าการที่พนักงานปฏิบัติงานหนักจะทำให้บริษัทมีผลประกอบการดีราคาหุ้นก็จะสูง

                             สรุปได้ว่า  ระบบค่าตอบแทน  คือการจ่ายโบนัส  การแบ่งกำไร  แผนแบ่งประโยชน์หรือแผนการเป็นเจ้าของหุ้น  เพื่อเป็นการกระตุ้นให้พนักงานมีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน  โดยแบ่งให้ตามสัดส่วนของผลกำไรที่ทำได้ในงวด

                          3)   ลักษณะการให้บำเหน็จรางวัล

                          ยงยุทธ   เกษสาคร  (2547 :  144  )  ได้กล่าวถึง  การให้บำเหน็จรางวัลว่าเป็นสิ่งจูงใจที่ไม่ใช่เงิน  นอกเหนือจากเงินแล้วยังมีปัจจัยอื่นที่จูงใจให้บุคคลปฏิบัติงาน  ดังนี้

                              3.1 )  การแข่งขัน  เช่น  การประกวดผลงาน  ผู้ชนะจะได้รับเกียรติชื่อเสียง  เป็นต้น   แต่ควรระวังในเรื่องของการอิจฉาริษยา  ซึ่งจะทำให้พนักงานมุ่งเอาชนะมากกว่าผลของงาน

                              3.2) ความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย  เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้รู้สึกมีความมั่นคงในอาชีพ  จะไม่ถูกเลิกจ้างโดยขาดหลักประกัน  มีการกำหนดสัญญาจ้างเป็นปีหรืออายุงาน  และมีหลักประกันในการปฏิบัติงาน  มีค่าตอบแทนเมื่อเกิดอุบัติเหตุ  มีการประกันชีวิตในงานที่เลี่ยงอันตราย

                              3.3)  ความรู้สึกก้าวหน้า  ผลงานที่ทำให้งานตนดีขึ้น  การได้เลื่อนตำแหน่งที่มีความสำคัญมากขึ้น  ทำให้มีกำลังใจในการปฏิบัติงานเพราะเป็นความคาดหวังของชีวิต

                              3.4)  ฐานะทางสังคม  เป็นความรู้สึกของตนเองว่าเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม  ทำให้อยากไปปฏิบัติงาน  เช่น  มีสิทธิตัดสินใจและออกเสียงในการปฏิบัติงานของกลุ่ม  รู้จุดมุ่งหมายปลายทางของกลุ่ม  ทำให้เกิดความรับผิดชอบต่อการปฏิบัติงานมากขึ้น  เป็นต้น

                              3.5)  ความรู้ผลของงาน  มีความพอใจและดีใจที่เห็นผลงานของตนไม่ว่าจะดีหรือไม่เพียงใด  เพราะผลงานที่ดีย่อมเป็นกำลังใจ  ผลงานที่ไม่ดีก็มีโอกาสปรับปรุงแก้ไข

                  3.6)  รางวัลและการลงโทษ  เป็นผลตอบแทนหรือคำชมเชย  หากผลงานเป็นที่พอใจหรือดีเด่น  ขณะเดียวกันก็มีการตำหนิเมื่อมีผลเสียหายเกิดขึ้น

                              3.7)  การปฏิบัติงานที่เหมาะสมกับความสามารถและความถนัดของบุคคล  ตลอดจนให้งานที่ไม่ยากและไม่ง่ายจนเกินไปจะทำให้สามารถปฏิบัติงานได้ดี

                              3.8)  การให้รู้ว่างานมีความสำคัญ  ความรู้สึกว่างานที่ตนทำให้ความหมายต่อหน่วยงานของตนหรือสังคม  จะเป็นแรงจูงใจให้พนักงานปฏิบัติงานมากขึ้น  ความเอาใจใส่ของหัวหน้างาน  การให้ข้อมูลเกี่ยวกับงาน  จึงเป็นการสร้างความสัมพันธ์ให้เกิดขึ้น

                              3.9)  การลดความซ้ำซากจำเจ  งานซ้ำๆ  ทุกวันจะทำให้พนักงานเกิดความเบื่อหน่าย  จึงควรพยายามสร้างสิ่งที่ไม่ทำให้เกิดความซ้ำซากขึ้น  จัดระบบงานใหม่จัดโต๊ะปฏิบัติงานใหม่  เป็นต้น

                          สรุปได้ว่า  ลักษณะการให้บำเหน็จรางวัล  คือ  ความรู้สึกก้าวหน้า  ฐานะทางสังคม  คำชมเชยหากผลงานเป็นที่พอใจหรือดีเด่น  รวมถึงงานที่ปฏิบัติไม่ซ้ำซากจำเจ  ซึ่งจะทำให้พนักงานเกิดความเบื่อหน่ายได้

                    1.3.5  สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน  (Operating  Environment)

                               1.)  ความหมายของสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน

                            สิริอร  วิชชาวุธ  (2544: 139)  กล่าวถึงสภาพของการปฏิบัติงาน  หมายถึง  สภาพแวดล้อมรอบ  ๆ  ตัว  เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพของการกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง  เช่น  การปฏิบัติงาน  อ่านหนังสือ  เป็นต้น  สภาพแวดล้อมรอบ  ๆ  ตัวจะมีอิทธิพลทำให้ประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพได้พอ  ๆ  กับความรู้ความสามารถ  เช่น  ถ้าต้องการที่จะปฏิบัติงาน  สภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยแต่ไม่มีความรู้พอที่จะปฏิบัติงานได้  จะทำให้ปฏิบัติงานไม่สำเร็จ  ในทางกลับกันหากมีความรู้ที่จะปฏิบัติงานได้แต่สภาพแวดล้อมไม่ดีพอ  แสงสว่างน้อย  มีเสียงดังรบกวนอยู่ตลอด  สภาพแวดล้อมเช่นนี้  อาจทำให้ขาดสมาธิ  เกิดความรู้สึกรำคาญ  เป็นผลให้การปฏิบัติงานไม่สำเร็จหรืออาจมีข้อผิดพลาดในการปฏิบัติงานได้  สภาพแวดล้อมจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงาน

                                    พรนพ  พุกกะพันธ์  (2544: 236)  ได้กล่าวถึงสภาพแวดล้อมของการปฏิบัติงาน  หมายถึง  สภาพที่มีอิทธิพลต่อร่างกายและจิตใจของบุคคลเป็นอันมาก  มีส่วนเสริมสร้างและทำลายขวัญและกำลังใจเป็นอย่างยิ่ง  การจัดสภาพการปฏิบัติงานที่ดีถูกหลักอนามัย  เช่น  สถานที่สะอาด  เรียบร้อย  เป็นต้น  จะทำให้พนักงานบังเกิดความสบายใจไม่รู้สึกรำคาญหรืออารมณ์ขุ่นมัว  ขวัญและกำลังใจก็จะดี  ถ้าจัดการสภาพปฏิบัติงานไร้ระเบียบขาดสิ่งจูงใจ  ขาดความสะอาดความสวยงามพนักงานจะขาดความตั้งใจในการปฏิบัติงาน  และเป็นการทำลายขวัญและกำลังใจให้หมดสิ้นไปด้วย

                             สรุปได้ว่า  สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน  หมายถึง  สภาพความมีระเบียบเรียบร้อย  สิ่งแวดล้อมที่ดี  มีการจัดห้องปฏิบัติงานไว้เป็นสัดส่วน  อุปกรณ์  เครื่องมืออำนวยความสะดวกต่าง  ๆ  เพียงพอสำหรับการปฏิบัติงาน

                          2)  ความสำคัญของสภาพแวดล้อมของการปฏิบัติงาน

                          พงศ์  หรดาล  (2548:246-247)  ได้กล่าวถึง  การจัดสภาพแวดล้อมของการปฏิบัติงานที่ไม่คำนึงถึงปัจจัยความแตกต่างและขีดจำกัดของผู้ปฏิบัติงาน  นอกจากจะก่อให้เกิดการปฏิบัติงานที่ไม่สะดวกสบาย ไม่มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานแล้วยังสั่งผลถึงระดับความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ  และปัญหาด้านสุขอนามัยของผู้ปฏิบัติงานอีกด้วย  ในการจัดสภาพแวดล้อมของผู้ปฏิบัติงานที่ไม่ถูกหลักจะทำให้พนักงานเกิดความเมื่อยล้าความเมื่อยล้านี้นอกจากจะเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดการผิดพลาดในการปฏิบัติงานซึ่งส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุได้ทันที  ยังส่งผลต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานในระยะยาว  ซึ่งส่งผลให้ปริมาณงานและคุณภาพของการผลิตลดลง

                             3)  ประเภทของสภาพแวดล้อมของการปฏิบัติงาน

                               สิริอร  วิชชาวุธ  (2544 : 141)  ได้กล่าวว่า  สภาพแวดล้อมของการปฏิบัติงานแบ่งเป็น  3  ประเภท  คือ 

                           3.1 )  สภาพแวดล้อมทางกายภาพในการปฏิบัติงาน  (Physical Condition  of  Work)  คือ  สิ่งต่าง  ๆ  ในบริเวณที่ปฏิบัติงาน  เช่น  ลักษณะอาคาร  การออกแบบ  ห้องปฏิบัติงาน  สภาพของห้องปฏิบัติงาน  โต๊ะทำงาน  การมองเห็น  เครื่องมือเครื่องใช้  รวมถึงที่จอดรถของบริษัท  เป็นต้น

                              3.2)  สภาพแวดล้อมด้านเวลาในการปฏิบัติงาน   คือ  เวลาเป็นสิ่งกำหนดพฤติกรรมในการปฏิบัติงาน  จะเห็นพนักงานในสังคมปัจจุบันเคร่งเครียดกับงาน  ปฏิบัติงานแข่งกับเวลา  พนักงานบางคนปฏิบัติงาน  7 วันต่อสัปดาห์  บางคน  6  วันต่อสัปดาห์  และบางคน  5  วันต่อสัปดาห์  พนักงานบางคนปฏิบัติงาน  10-20 ชั่วโมง  ไม่มีเวลาพัก  บางคนปฏิบัติงาน  8  ชั่วโมงมีเวลาพัก  พนักงานที่ปฏิบัติงาน  7  วันต่อสัปดาห์  จะปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพมากกว่าพนักงานที่ปฏิบัติงาน 6  วัน  ต่อสัปดาห์และมากกว่าพนักงานที่ปฏิบัติงาน  5  วันต่อสัปดาห์จริงหรือไม่  ร่างกายสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพติดต่อกันนานเท่าไร  และปฏิบัติงานได้นานเพียงใดต่อวันพนักงานปฏิบัติงาน  7  วันต่อสัปดาห์  จะมีความเครียดมากกว่าคนที่ปฏิบัติงาน  6  วันต่อสัปดาห์และมากกว่าพนักงานที่ปฏิบัติงาน  5 วันต่อสัปดาห์ หรือไม่  คำถามนี้จะเป็นเหตุผลให้ทำการศึกษาเรื่องเวลาในการปฏิบัติงาน

                             3.3  )  สภาพแวดล้อมทางจิตในการปฏิบัติงาน  (Psychological  Condition  of  Work)   คือ  นอกจากสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการปฏิบัติงาน  ยังมีสภาพแวดล้อมทางจิตใจที่มีผลต่อพฤติกรรมการปฏิบัติงานของบุคคลอีกด้วย  ลักษณะสังคมและเพื่อนร่วมงาน  รวมทั้งลักษณะวัฒนธรรมในองค์การ  เป็นปัจจัยที่ทำให้บุคคลมีความรู้สึกและพฤติกรรมการปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน  สภาพแวดล้อมมีผลต่อความรู้สึก  2  ลักษณะ  คือ  ความเบื่อหน่าย  และความเมื่อยล้า

                                สรุปได้ว่า  ประเภทของสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน  คือสภาพแวดล้อมของการปฏิบัติงานที่ปลอดภัย  ไม่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ  ระยะเวลาในการปฏิบัติงานมีความเหมาะสม  ควรจะเป็นสภาพแวดล้อมที่ถูกต้องตามสุขลักษณะ  พนักงานไม่ต้องมากลัวว่าจะเกิดอุบัติเหตุเมื่อใด  ทุกอย่างที่กล่าวมานี้ล้วนแต่มีผลกระทบต่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานทั้งสิ้น

                   1.3.6  สุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน  (Health of  Employees

                              1)  ความหมายของสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน

                          พงศ์  หรดาล (2540 :  85-86)  กล่าวว่า  สุขภาพของพนักงาน  หมายถึง  พนักงานที่มีสุขภาพทั้งทางกายและสุขภาพจิตที่ดี  ย่อมจะมีมุมานะที่จะอุทิศแรงกายและกำลังความคิดให้แก่องค์การ  หากพนักงานเจ็บป่วยอยู่เสมอหรือมีความคิดหมกมุ่นกังวลใจตลอดเวลาก็ยากที่จะปฏิบัติงานอย่างยอมตายถวายชีวิตให้แก่องค์การ

                          สมศักดิ์  ขาวลาภ  (2544: 44)  ได้ให้คำจำกัดความ  สุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน  ไว้ว่า  สุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน  หมายถึง  สุขภาพของพนักงานโดยทั่วไป  รวมไปถึงสุขภาพร่ายกายและจิตใจ  โดยเฉพาะอารมณ์ของผู้ปฏิบัติงานแต่ละบุคคลซึ่งมักเปลี่ยนแปลงตามสภาพของปัญหาและสิ่งแวดล้อมตลอดจนความสามารถในการใช้สติปัญญาควบคุมอารมณ์และสภาพจิตใจของตนเอง

                         สิริอร  วิชชวุธ  (2544: 183) ได้ให้ความหมายของสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานไว้ว่า  สุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน  หมายถึง   สภาพแวดล้อมการปฏิบัติงานในแต่ละแห่งจะมีสภาพและบรรยากาศแตกต่างกัน  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอุณหภูมิ  แสงสว่าง  ระดับของเสียง  หรือมลภาวะในอากาศ  สภาพแวดล้อมที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม  เช่น  อุณหภูมิที่ร้อนเกินไป  หรือเย็นเกินไป  แสงสว่างน้อยเกินไป  หรือมีแสงเข้าตามากเกินไป  เสียงดังเกินไปหรืออากาศที่เป็นพิษ  เป็นต้น  ซึ่งสามารถทำให้สุขภาพทรุดโทรมได้  การสนใจในเรื่องสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานจะช่วยป้องกันความเจ็บป่วยของพนักงานที่เกิดจากที่ปฏิบัติ

                              สรุปได้ว่า  สุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน  หมายถึง  สุขภาพและสุขภาพจิตใจโดยเฉพาะอารมณ์ของผู้ปฏิบัติงาน  ซึ่งมักเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพปัญหาและสิ่งแวดล้อมของการปฏิบัติงาน

                              2)  ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อสุขภาพในการปฏิบัติงาน

                                    สิริอร  วิชชวุธ  (2544 : 183 -184)  กล่าวว่า  ผลกระทบต่ออุบัติเหตุและปัญหาสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานในการปฏิบัติงานมีอยู่ด้วยกัน  4  ปัจจัย  คือ

                                2.1)ปัจจัยด้านองค์การ  ถ้าผู้บริหารระดับสูงไม่เห็นความสำคัญของสุขภาพในการปฏิบัติงานย่อมไม่เน้นนโยบายในการบริหารที่เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในองค์การให้พนักงาน  ทำให้เกิดการละเลยในเรื่องของสุขภาพของพนักงานในการปฏิบัติงานและไม่มีมาตรการที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของพนักงานในการปฏิบัติงาน  ถึงแม้ปัจจุบันมีแรงผลักดันในเรื่องมาตรการในการควบคุมคุณภาพในเรื่องของสภาพแวดล้อม

 (ISO 14000)  ผู้บริหารที่ไม่มีจิตสำนึกในเรื่องสุขภาพและความปลอดภัย  จะไม่สนใจในการรักษาสุขภาพให้กับพนักงานของตนอย่างจริงใจ  และยิ่งในสังคมเป็นวัฒนธรรมที่ยังไม่เห็นความสำคัญของความปลอดภัยและสุขภาพเท่าที่ควร

                                2.2)  สภาพแวดล้อมทางกายภาพ  อุบัติเหตุเป็นสิ่งสำคัญที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ  อุบัติเหตุมิได้เกิดจากฝ่ายบริหารไม่ใส่ใจในเรื่องความปลอดภัยในการปฏิบัติงานขององค์การเพียงอย่างเดียว  แต่สภาพแวดล้อมทางกายภาพ  ยังเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุในการปฏิบัติงานได้

                                2.3)  สภาพแวดล้อมทางจิตวิทยาสังคมในองค์การ เช่น  บรรทัดฐานของกลุ่ม  ระบบการสื่อสารระหว่างกัน  บรรยากาศของความปลอดภัย  ขวัญและกำลังใจมีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุหรือปัญหาสุขภาพแก่พนักงานได้

                                2.4 )  ลักษณะของบุคลากรอาจได้รับอุบัติเหตุหรือประสบปัญหาทางสุขภาพจากการปฏิบัติงานเนื่องด้วยปัจจัยที่ 3  อย่างที่กล่าวมาข้างต้น  แต่ขณะที่ตนอยู่ในสภาพเดียวกัน  พนักงานบางคนจะมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุมากกว่า  ทั้งนี้เป็นเพราะคุณสมบัติส่วนบุคคลของพนักงานและค่านิยมเรื่องความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของแต่ละบุคคลก็เป็นส่วนที่ทำให้เกิดความใส่ใจในเรื่องความปลอดภัยในงาน

                         สรุปได้ว่า  ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพในการปฏิบัติงาน  คือสภาพกายและสภาพจิตใจที่ส่งผลกระทบ  เช่น  อุณหภูมิที่ร้อนจัดหรือเย็นจัดเกินไป  แสงสว่างน้อยเกินไป  หรือแสงสว่างเข้าตามากเกินไป  มีเสียงดังมากเกินไป  มีอากาศดีไม่ส่งกลิ่นเหม็นงานที่ปฏิบัติไม่ซ้ำซาก  จำเจ  น่าเบื่อ  หน่วยงานต้องเห็นความสำคัญในเรื่องสุขภาพ  และควรมีการจัดกิจกรรมเพื่อสุขภาพ  จะเป็นการผ่อนคลายและส่งเสริมสุขภาพของพนักงาน  สิ่งต่าง  ๆ  เหล่านี้มีอย่างมากต่อการปฏิบัติงานเพราหากเมื่อใดผู้ใต้บังคับบัญชามีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพกายหรือสุขภาพจิต  บุคคลเหล่านี้ย่อมจะสามารถอุทิศเวลาให้แก่การปฏิบัติงานให้บังเกิดผลดีได้

                          1.4   การวัดระดับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน

                          วิธีที่จะใช้วัดระดับขวัญและกำลังใจของบุคคลในองค์กรว่าจะมีระดับขวัญและกำลังใจดีหรือไม่นั้นก็ได้แก่  การศึกษาการทำงานของบุคคลนั้นว่า  ได้มีความตั้งใจที่จะอุทิศเวลาและแรงกายของตนเองในการทำงาน  ให้เป็นไปตามความต้องการตามวัตถุประสงค์ขององค์กรมากน้อยเพียงใด  เพราะการที่บุคคลใดจะตั้งใจปฏิบัติงานดีหรือไม่นั้น  ก็ย่อมขึ้นอยู่กับความต้องการนั้นได้รับการตอบสนองหรือไม่

                   1.4.1  เครื่องมือตรวจสอบ สำหรับเครื่องมือที่จะใช้ตรวจระดับขวัญและกำลังใจมี  2  ลักษณะ  (ปรีพร  วงศ์อนุตรโรจน์. 2547 : 139)  ดังนี้

                          1)  การวัดแบบอัตนัย  (Subjective  Survey )  เป็นการทดสอบกลุ่มและความสัมพันธ์ภายในกลุ่มเรียกว่า  สังคมมิติ  (Sociometry)  ผู้สร้างเทคนิคนี้เพื่อใช้ในการประเมินขวัญและกำลังใจ  คือ โมเรโน (Moreno)  ใช้ศึกษาพฤติกรรมในกลุ่ม  ความมุ่งมั่นของการใช้สังคมมิติก็เพื่อศึกษาถึงการยอมรับและไม่ยอมรับ  ความชอบและไม่ชอบ  ในระหว่างสมาชิกกลุ่ม  วิธีการที่ใช้เป็นการถามสมาชิกแต่ละคนให้บอกชื่อเพื่อนในกลุ่มที่ตนชอบ  และผู้ที่ตนไม่ชอบในพฤติกรรมที่แตกต่างกันออกไป  และถูกนำไปใช้ในวงการธุรกิจอุตสาหกรรมเพื่อศึกษาการทำงานในกลุ่ม  วิธีการของสังคมมิติ  ให้แต่ละคนในกลุ่มเขียนชื่อบุคคลในกลุ่มที่คิดว่า  เป็นพนักงานที่ดี   เป็นหัวหน้าที่ดี  เป็นคนที่มีความยุติธรรมต่อทุกฝ่ายแล้วนำชื่อที่เขียนมาโยงกันเป็นผังเชื่อมโยง  บุคคลที่เป็นหัวหน้าจริง  ๆ  และเมื่อเขียนสังคมมิติก็ได้รับเลือกเป็นหัวหน้า  แสดงถึงว่าบุคคลนั้นเป็นหัวหน้าในทุกสถานการณ์  ถ้าเขาเป็นหัวหน้าจริงแต่การทำสังคมมิติสมาชิกในกลุ่มเลือกผู้อื่นให้เป็นหัวหน้า  บุคคลที่ได้รับเลือกก็เป็นดาวของกลุ่ม  บางคนที่ไม่ได้รับเลือกเป็นลักษณะคนที่ถูกทอดทิ้งจากกลุ่ม

                         2)  การวัดแบบปรนัย  (Objective Survey)  นอกจากการใช้สังคมมิติดังกล่าวก็ได้มีการวัดขวัญและกำลังใจโดยการใช้แบบสอบถาม  ซึ่งวัดเกี่ยวกับเจตคติเป็นแบบวัดในเชิงปริมาณ  การวัดขวัญและกำลังใจมักจะใช้ควบคู่ไประหว่างสังคมมิติ  และแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าเจตคติ  รวมทั้งการสัมภาษณ์จะช่วยให้การวัดขวัญและกำลังใจได้ดี  ตัวบ่งชี้ที่เกี่ยวกับขวัญและกำลังใจต่ำ  จะบอกได้จากการนัดหยุดงาน  การลาออก  การขาดงาน  ความเบื่อหน่ายในการทำงาน  และผลผลิตที่ต่ำ

                   1.4.2  วิธีตรวจสอบ  สำหรับวิธีการที่จะใช้ตรวจสอบระดับขวัญและกำลังใจมี  4  วิธี  (เสนาะ ติเยาว์. 2545 : 218-219)   คือ

                           1.)  การสังเกตการณ์  (Observation)  การสังเกตการณ์เป็นวิธีที่ดีที่สุด  วิธีหนึ่งในการวัดระดับขวัญ  วิธีนี้ผู้บังคับบัญชาสามารถปฏิบัติการได้อย่างกว้างขวาง  เนื่องจากผู้บังคับบัญชามีอำนาจปกครองควบคุมบังคับบัญชาอยู่แล้ว  การสังเกตการณ์จะร่วมสนทนาด้วยหรือสังเกตการณ์ปฏิบัติงานและพฤติกรรมการแสดงออกต่าง  ๆ  วิธีการนี้ต้องกระทำอย่างระมัดระวังและมีระบบ  ข้อที่ควรคำนึง  ก็คือ  การสังเกตการณ์เป็นวิธีการใช้สายตามองอย่างพินิจพิจารณาไม่ใช่แต่เพียงดูเฉย  ๆ  เท่านั้น

                           2)  การสัมภาษณ์ (Interviewing )  เป็นวิธีการหนึ่งที่มีประโยชน์ในทางวัดระดับขวัญวิธีนี้เป็นวิธีแบบเผชิญหน้า  ระหว่างผู้สัมภาษณ์กับผู้ถูกสัมภาษณ์  แลกเปลี่ยนข่าวสารด้วยวาจา  แลกเปลี่ยนความคิดและทัศนะต่าง  ๆ  แก่กันและกัน  แต่การสัมภาษณ์จะไม่ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ  ถ้าหากกระทำโดยไม่มีเกณฑ์ที่แน่นอน  และปราศจากการวางแผนรวมทั้งขาดความระมัดระวัง  ข้อดีของการสัมภาษณ์ก็คือการสามารถใช้ความรู้สึกอันไวอีกทั้งยังกระทำได้อย่างครอบคลุมแต่มีข้อเสียคือ  สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย  โดยเฉพาะการสัมภาษณ์กลุ่มคนที่มีขนาดใหม่

                           3.)  แบบสอบถาม (Querionnaire) เป็นวิธีการที่นิยมอย่างกว้างขวางวิธีหนึ่งแบบสอบถามแบ่งออก  ได้เป็น  2  ประเภท  คือ การสำรวจแบบปรนัย  เป็นการสร้างคำถาม และคำตอบที่มีให้เลือก  ผู้ตอบจึงเพียงแต่ทำเครื่องหมายในข้อที่ตนต้องการเท่านั้นสำหรับแบบหลังเป็นการตั้งคำถาม  แล้วปล่อยให้ผู้ปฏิบัติงานตอบคำถามด้วยถ้อยคำของเขาเองวิธีการวัดระดับขวัญโดยใช้แบบสอบถามมีทั้งข้อดี  และข้อเสีย  ข้อดีก็คือ  วิธีการนี้เป็นวิธีการที่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการดำเนินการน้อย  เนื่องจากสามารถใช้ได้กับคนจำนวนมาก  โดยใช้เวลาอันสั้น  และสามารถใช้เครื่องจักรประมวลได้  ส่วนข้อเสียก็คือการใช้แบบสอบถาม  ทำให้ไม่สามารถใช้ความรู้สึกอันไว  ช่วยเก็บข้อมูลได้และขาดลักษณะครอบคลุมดังที่กล่าวมาแล้ว

                          4.)  การเก็บประวัติ (Record  -Keeping)  เป็นวิธีการที่จะอำนวยผลเป็นอันมาก  หากได้กระทำอย่างเป็นระบบที่ดี  ประวัติที่ควรเก็บรวบรวมไว้ควรจะมีเรื่องของการที่ขาดงานและการเฉื่อยชาในการปฏิบัติงาน  โดยบันทึกไว้เป็นรายบุคคลอย่างย่อ  ๆ  ในบัตร และนำมาสรุปความลงในบัตรของหน่วยงานอีกครั้งหนึ่ง  ในลักษณะเดียวกันประวัติควรให้แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของขวัญด้วย  เช่น  การร้องทุกข์  การลงโทษทางวินัย  เป็นต้น  แต่ประวัติที่จะทำขึ้นต้องการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอและเชื่อถือได้

                   จากการรวบรวมแนวคิดเกี่ยวกับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน  ตามที่นักวิชาการได้กล่าวไว้นั้น  ผู้ศึกษาพอสรุปได้ว่า ขวัญและกำลังใจเป็นสิ่งที่มีประโยชน์และมีความสำคัญยิ่งในการปฏิบัติงาน  ซึ่งผู้บริหารทุกระดับจะต้องเสริมสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน  ให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาในองค์การของตน  อีกทั้งยังต้องคำนึงถึงองค์ประกอบและปัจจัยที่มีผลกระทบต่อขวัญและกำลังใจอีกด้วย  ซึ่งขวัญและกำลังใจเป็นแรงผลักดันให้ผู้ปฏิบัติงาน  ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ  เพราะมุ่งหวังถึง  ความก้าวหน้า  รายได้  ความมั่นคงในอาชีพที่รับผิดชอบ  เป็นต้น  ซึ่งเป็นความต้องการที่มีอยู่ในทุกคน

ทฤษฏีลำดับความต้องการของ Maslow

มาตรฐาน

     มาสโลว์  (Maslow)  ได้กล่าวถึงทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการไว้ 5  ขั้นตอน  (วิรัช  สงวนวงศ์วาน. 2550 : 210-211 ) ดังนี้

                         3.1  ความต้องการทางกายภาพ  (Physiological  Needs)  เป็นความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์เป็นสิ่งที่จำเป็นในการดำรงชีวิต  ได้แก่  อาหาร  อากาศ  ที่อยู่อาศัย  เครื่องนุ่งห่ม  ยารักษาโรคความต้องการพักผ่อน  และความต้องการทางเพศ  เป็นต้น

                       3.2  ความต้องการความมั่นคงและปลอดภัย  (Safety  Needs  and  Needs for Security)  ถ้าต้องการความมั่นคง  ปลอดภัยในชีวิต  ทั้งในปัจจุบันและอนาคต  ต้องการความเป็นธรรมในการทำงาน  ความปลอดภัยในเงินเดือนและการถูกไล่ออก  สวัสดิการด้านที่อยู่อาศัยและการรักษาพยาบาล  รวมทั้งความเชื่อในศาสนา  และเชื่อมั่นในปรัชญา  ซึ่งจะช่วยให้บุคคลอยู่ในโลกของความเชื่อของตนเอง  และรู้สึกมีความปลอดภัย

                        3.3  ความต้องการมีส่วนร่วมในสังคม  (Social  Belonging  Needs)  เมื่อความต้องการทางด้านร่างกาย  และความปลอดภัยได้รับการตอบสนองแล้ว  ความต้องการทางด้านสังคม  ก็จะเริ่มเป็นสิ่งจูงใจที่สำคัญต่อพฤติกรรมของบุคคล  เป็นความต้องการที่จะให้สังคมยอมรับตนเป็นสมาชิกต้องการได้รับการยอมรับจากคนอื่น  ๆ  ได้รับความเป็นมิตรและความรักจากเพื่อนร่วมงาน

                      

 

           3.4  ความต้องการยกย่องนับถือ  (Esteem  Needs)  ความต้องการด้านนี้เป็นความต้องการระดับสูง  ที่เกี่ยวกับความอยากเด่นในสังคม  ต้องการให้บุคคลอื่นยกย่องสรรเสริญ  รวมถึงความเชื่อมั่นในตนเอง  ในเรื่องความรู้ความสามารถ  ความเป็นอิสระและเสรีภาพ

                            3.5  ความต้องการบรรลุในสิ่งที่ตั้งใจ (Need for  Self  Actualization)  เป็นความต้องการระดับสูงสุด  ซึ่งเป็นความต้องการที่อยากจะให้เกิดความสำเร็จในทุกสิ่งทุกอย่างตามความนึกคิดของตนเอง  เป็นความต้องการที่ยากแก่การได้มา

                   1.)  มนุษย์ทุกคนมีความต้องการ  ความต้องการที่มนุษย์นี้จะอยู่ในตัวมนุษย์ตลอดไป  ไม่มีที่สิ้นสุด  เมื่อสนใจในความต้องการหนึ่งแล้ว  ก็ยังต้องการในระดับที่สูงขึ้น

                   2.)  อิทธิพลใด ๆ  ที่จะมีผลต่อความต้องการของมนุษย์  อยู่ในความต้องการลำดับขั้นนั้น  ๆ  เท่านั้น  หากความต้องการลำดับขั้นนั้นได้รับการสนองให้พอใจแล้วความต้องการนั้นก็จะหมดอิทธิพลไป  แต่ความต้องการลำดับต่อไป

                   3)  ความต้องการของมนุษย์  จะมีลำดับขั้นจากต่ำไปหาสูง  เมื่อความต้องการขั้นต่ำได้รับการตอบสนองเป็นที่พอใจแล้ว  ความต้องการลำดับสูงขึ้นไปก็ตามมา

                                อธิบายเป็นภาพประกอบแสดงถึงความสำคัญของการสนองก่อนหลังเป็นรูปบันไดแล้วได้ภาพประกอบที่  2.1  ดังนี้

 

 

 

 

                                                                                             ความต้องการบรรลุในสิ่งที่สำเร็จ

                                                                                                                ความต้องการยกย่องนับถือ

                                                                                                ความต้องการมีส่วนร่วม

                                                ความต้องการความมั่นคงและปลอดภัย

 

        ความต้องการด้านกายภาพ

 

 

 

 

 

ภาพประกอบที่  2.1 แสดงบันไดแห่งความต้องการของมนุษย์ของ  มาสโลว์  (Maslow)

ที่มา  :  วิรัช  สงวนวงศ์วาน  .2550 : 210

 

จากภาพประกอบที่  2.1  แสดงให้เห็นลำดับความต้องการว่าได้มีการพัฒนาเป็นไปตามความต้องการ  ขึ้นพื้นฐานสู่ความต้องการระดับสูง  คือ  ในขณะที่ความต้องการทางร่างกายยังมีอยู่มากบุคคลจะปฏิบัติตนเพียงเพื่อมุ่งสนองความต้องการพื้นฐานเท่านั้นความต้องการประเภทอื่น  ๆ  จะมีบทบาทน้อยมาก  แต่เมื่อบุคคลนั้นได้รับการตอบสนองให้เกิดความพึงพอใจตามความต้องการระดับนี้แล้วความต้องการความมั่นคงและความปลอดภัยชีวิต จึงจะมีความสำคัญต่อตนเพิ่มขึ้นและตราบใดที่บุคคล  ยังไม่รู้สึกปลอดภัยหรือมั่นคงความต้องการด้านอื่น  ๆ  ที่สูงขึ้นไป  ก็ยังไม่มีอิทธิพลมากนักแต่เมื่อบุคคลได้รับการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน  และความมั่นคงปลอดภัยแล้ว    บุคคลจะเกิดความต้องการทางด้านสังคมมากขึ้น  เมื่อเวลาปฏิบัติงานใด  ๆ  จะพยายามหาทางให้กลุ่มยอมรับตนเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม  และเมื่อได้รับการตอบสนองความต้องการแล้ว  บุคคลก็มีความต้องการที่จะรับการยกย่องจากกลุ่มต่อไป  และเมื่อได้รับการยกย่องว่าปฏิบัติตนได้ดีเด่นแล้ว  ในขั้นนี้จะเกิดความรู้สึกว่าตนเป็นผู้มีประโยชน์ต่อผู้อื่น  ตนเองสามารถมีอำนาจเหนือบุคคลอื่น  ๆ บุคคลประเภทนี้จะเป็นผู้มีความมั่นใจในตนเอง  รู้สึกว่าตนเองมีศักดิ์ศรี  ตระหนักถึงความเป็นจริงในตนเอง  มากขึ้นและในที่สุดจะแสดงความสามารถในการทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ต้องการได้

 

 

 

 

 

 

ทฤษฎีสองปัจจัยของเฮอร์เบิร์ก (Herzberg’ Two –Tactor Theory )

มาตรฐาน

       เป็นทฤษฎีที่เสนอแนะว่าความพึงพอใจในการทำงานประกอบด้วยสองแนวคิด  (ศิริวรรณ  เสรีรัตน์ และคณะ  .2545 :313-315 ) คือ 

                       1.  แนวคิดที่มีขอบเขตจากความพึงพอใจ (Satisfaction)  ไปยังความพึงพอใจ  (Satisfaction)  และได้รับอิทธิพลจากปัจจัยจูงใจ  (Motivation  Factor) 

                       2.  แนวคิดที่มีขอบเขตจากความไม่พึงพอใจ  (Dissatisfaction)  ไปยังความไม่มีความไม่พอใจ  (no  dissatisfaction)  และได้รับอิทธิพลจากปัจจัยอนามัย  (Hygiene Factor) 

                       ทฤษฎีนี้ได้มีการพัฒนาโดย  เฮอร์เบิร์ก  ในปี ค.ศ.1950-1959  และในช่วงแรกของปี ค.ศ.1960-1969  ทฤษฎี  2  ปัจจัยประกอบด้วย  1  ปัจจัยจูงใจหรือจูงใจ  2  ปัจจัยการธำรงรักษาหรือปัจจัยสุขอนามัยดังภาพที่  3  โดยมีรายละเอียดดังนี้

                   1.  ปัจจัยการจูงหรือตัวจูงใจ  (Motivation  Factor  หรือ  Motivators )  เป็นปัจจัยภายนอก  (ความต้องการภายใน)  ของบุคคลที่มีอิทธิพลในการสร้างความพึงพอใจในการทำงาน  (job  satisfiers )   เช่น  ความก้าวหน้า  ความสำเร็จ  การยกย่อง  เป็นต้น

                   2.  ปัจจัยการธำรงรักษา  (Maintenance  Factor )  หรือปัจจัยอนามัย (hygiene factor )   เป็นปัจจัยภายนอกที่ป้องกันไม่ให้พนักงานเกิดความไม่พึงพอใจในการทำงาน  การเสนอสุขอนามัยไม่ใช่วิธีการจูงใจที่ดีที่สุดในทัศนะของ  เฮอร์เบิร์ก  แต่เป็นการป้องกันความไม่พอใจ  ประกอบด้วยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการทำงานหรือการขาดงานของพนักงาน  เช่น  นโยบายบริษัท  การบังคับบัญชา  ความมั่นคงในงาน  ค่าตอบแทน  สภาพการทำงาน เป็นต้น 

ปัจจัยจูงใจ ( Motivator)

หรือสิ่งที่ทำให้เกิดความพึงพอใจในงาน  (Satisfiers)

ความก้าวหน้าส่วนตัว (Personal  Growth)

ลักษณะงาน   (Work  Content)

ความสำเร็จ  (Achievement)

การยกย่อง  (Recognition)

ความรับผิดชอบ  (Responsibility)

ความก้าวหน้า  (Advancement)

ปัจจัยอนามัย  (Hygiene factor )

หรือปัจจัยบำรุงรักษา (Maintenance  Factor)

หรือสิ่งที่ทำให้เกิดความไม่พึงพอใจในงาน (Dissatisfies)

 นโยบายบริษัท  (Company  Policies)

การบังคับบัญชา  (Supervision)

ความสันพันธ์ระหว่างบุคคล (Interpersonal)

สภาพการทำงาน  (Working  condition)

ความมั่นคงในงาน  (Job security)

ค่าตอบแทน  (Pay)

ความไม่พึงพอใจในงาน

  ( Job  Dissatisfaction)

                   จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้นสามารถสรุป  ทฤษฎีสองปัจจัยได้ดังภาพประกอบ  ต่อไปนี้

 

 

 

 

 

ความพึงพอใจในงาน

(Job Satisfaction)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                  

 

 

จากภาพประกอบที่  2.2  แสดงทฤษฎีสองปัจจัย  เฮอร์เบิรก์ (Herzberg’ Two –Tactor  Theory  )   ที่มา :  ศิริวรรณ  เสรีรัตน์  และคณะ.2545 :315

                   จากภาพประกอบที่ 2.2  จะเห็นว่าทฤษฎี 2  ปัจจัยของ เฮอร์เบิร์ก  แบ่งการจูงใจออกเป็น  2  กลุ่ม  คือ  กลุ่มที่ 1  ปัจจัยเกี่ยวกับความไม่พอใจ  (Dissatisfaction)  เป็นปัจจัยที่อาจทำให้พนักงานเกิดความไม่พึงพอใจในการทำงานได้  เช่น  ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล  กลุ่มที่  2  ปัจจัยเกี่ยวกับงาน  (Job  Context  Factor)  หรือปัจจัยที่เกี่ยวกับความพึงพอใจ  (Satisfiers)  เป็นปัจจัยจูงใจที่แท้จริง  เพรามีอิทธิพลในการสร้างให้พนักงานเกิดความพึง

พอใจในการทำงาน  ซึ่งทฤษฎีการจูงใจจะมีความสมเหตุสมผล  ถ้าผู้บริหารให้ความสนใจในการยกระดับ  ลักษณะงานควบคู่กันไปด้วย

                                จากทฤษฎี  2  ปัจจัยของ  เฮอร์เบิร์ก  (Herzberg’s  Two-Factor  Theory)  จะเห็นได้ว่า  ปัจจัยที่เกี่ยวกับความพึงพอใจ  (Satisfiers)  เป็นปัจจัยจูงใจที่แท้จริง  เพราะมีอิทธิพลในการสร้างให้พนักงานเกิดความพึงพอใจในการทำงาน  และปัจจัยเกี่ยวกับความไม่พึงพอใจ  (Dissatisfiers)  เป็นปัจจัยที่อาจทำให้พนักงานเกิดความไม่พึงพอใจในการทำงานได้  เช่น  ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล  นอกจากนี้

ทฤษฎี X และ ทฤษฎี Y ของ McGregor

มาตรฐาน

แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมของบุคคลโดยทั่วไปแสดงในข้อสมมติฐาน  2  ประการของ  ดั๊กกลาส  แม็คเกรย์เกอร์  ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อของ  ทฤษฎี  X  และ  ทฤษฎี  Y  ซึ่ง  แม็คเกรย์เกอร์  ได้  ศึกษาวิธีการที่ผู้บริหารมองตัวเองสัมพันธ์กับบุคคลอื่น  แนวคิดนี้ต้องการความคิดในการรับรู้  ธรรมชาติของมนุษย์   ซึ่งมีข้อสมมติฐาน  2  ประการเกี่ยวกับลักษณะของบุคคล  (ศิริวรรณ  เสรีรัตน์  และคณะ.2545. : 309-310)  ดังนี้

5.1  ข้อสมมติฐานเกี่ยวกับทฤษฎี  X  (Theory  X  assumptions)  ข้อสมมติฐานแบบดั้งเดิมเกี่ยวกับลักษณะของบุคคลของ  แม็คเกรย์เกอร์  เกี่ยวกับ  ทฤษฎี  X  ดังนี้

     5.1.1  โดยทั่วไปมนุษย์ไม่ชอบการทำงานและจะหลีกเลี่ยงงานถ้าสามารถทำได้

     5.1.2  จากลักษณะของมนุษย์ที่ไม่ชอบทำงานคนส่วนใหญ่จึงต้องถูกบังคับและควบคุมสั่งการและใช้วิธีการลงโทษ  เพื่อให้ใช้ความพยายามให้เพียงพอเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ

     5.1.3   มนุษย์โดยเฉลี่ยพอใจกับการถูกบังคับ  ต้องการเลี่ยงความรับผิดชอบ  มีความทะเยอทะยานน้อย  และต้องการความปลอดภัย

    5.2  ข้อสมมติฐานเกี่ยวกับทฤษฎี  Y  (Theory  Y  assumptions)  ข้อสมมติฐานแบบดั้งเดิมเกี่ยวกับลักษณะของบุคคลของ  แม็คเกรย์เกอร์  เกี่ยวกับ  ทฤษฎี  Y  ดังนี้

   5.2.1  มนุษย์ใช้ความพยายามทางกายภาพ  และความพยายามด้านจิตใจในการทำงานตามธรรมชาติ  ไม่ว่าจะเป็นการเล่นหรือพักผ่อน

   5.2.2  การควบคุมภายนอกและอุปสรรคของการลงโทษ  ไม่ใช่วิธีการเดียวในการใช้ความพยายามให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ  บุคคลจึงใช้การควบคุมตัวเองเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการ

   5.2.3  ระดับของการให้บรรลุวัตถุประสงค์  ขึ้นอยู่กับขนาดของรางวัลที่สัมพันธ์กับความสำเร็จ

   5.2.4  มนุษย์โดยเฉลี่ยเรียนรู้ภายใต้สภาพที่เหมาะสมไม่เพียงแต่การยอมรับความรับผิดชอบแต่ยังมีการแสวงหาด้วย

   5.2.5  สมรรถภาพของบุคคลขึ้นอยู่กับระดับของการจินตนาการระดับสูง  ความซื่อสัตย์และความคิดสร้างสรรค์

   5.2.6  ภายใต้สภาพของอุตสาหกรรมสมัยใหม่  ศักยภาพที่เฉลียวฉลาดของความเป็นมนุษย์โดยเฉลี่ยมีการใช้ประโยชน์บางส่วน

   จากสมมติฐาน  2  ประการที่แตกต่างกัน  ทฤษฎี  X  เป็นการมองโลกในแง่ร้าย  ไม่ยืดหยุ่นการควบคุมจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้บังคับบัญชาใช้ควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชา  ในทางตรงกันข้ามทฤษฎี  Y  เป็นการมองโลกในแง่ดี  ยืดหยุ่นได้และเป็นกลไกที่มุ่งที่การควบคุมตนเองร่วมกับความต้องการส่วนตัว  และความต้องการขององค์การอย่างไรก็ตามเป็นที่หน้าสงสัยว่าแต่ละข้อสมมติฐานมีผลกระทบต่อผู้บริหารที่จะแก้ปัญหาในหน้าที่และกิจกรรมในการจัดการหรือไม่ความชัดเจนของทฤษฎี  (Clarification  of  the  Theories)   แม็คเกรย์เกอร์  ระบุว่าทฤษฎี  X  และทฤษฎี  Y  จะมีการตีความที่ผิดพลาด  ประเด็นที่ตามมาจะทำให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับขอบเขตความไม่เข้าใจ  การรักษาข้อสมมติฐานในแนวคิดเฉพาะอย่างมีดังนี้  (1)  ข้อสมมติฐานเกี่ยวกับทฤษฎี  X  และทฤษฎี  Y  เป็นเพียงข้อสมมติฐานเท่านั้น  ยังไม่เป็นข้อเสนอแนะในการกำหนด   กลยุทธ์การจัดการ  ข้อสมมติฐานเหล่านี้จะต้องมีการทดสอบข้อเท็จจริง  นอกจากนั้นข้อสมมติฐานเหล่านี้ยังไม่มีการสนับสนุนด้วยการวิจัยอีกด้วย  (2)  ทฤษฎี  X  และทฤษฎี  Y  ไม่ได้นำไปประยุกต์ในการจัดการอย่างหนัก  (Hard)  หรือเบา  (Soft)  แนวคิดอย่างหนัก  (Hard)  ก็คือการการสร้างคำยืนยันหรือความเป็นปฏิปักษ์  ส่วนแนวคิดอย่างเบา  (Soft)  หมายถึงผลการจัดการแบบเสรีนิยม  (Laissez  Faire)  และก็ไม่ได้มีความสอดคล้องกับทฤษฎี  Y  ผู้บริหารที่ความสามารถจะคำนึงถึงความเป็นไปได้  และข้อจำกัดของบุคคลตลอดจนการปรับพฤติกรรมตามสถานการณ์  (3)  ทฤษฎี  X  และทฤษฎี  Y  ไม่ได้มีแนวคิดที่ต่อเนื่องกัน  กล่าวคือ  ทฤษฎี  X  และทฤษฎี  Y  จะมีลักษณะตรงข้ามกันมีแนวคิดด้านความแตกต่างของคนอย่างสิ้นเชิง  (4)  การอภิปรายถึงทฤษฎี  Y  ว่าไม่ใช่การจัดการในอุดมคติหรือเป็นการต่อต้านการใช้อำนาจหน้าที่  แต่ทฤษฎี  Y  เป็นเพียงหนึ่งในหลายวิธีของผู้บริหาร  และความพยายามในการเป็นผู้นำ  (5)  งานและสถานการณ์ที่แตกต่างกันย่อมมีความต้องการแนวคิดด้านการจัดการที่แตกต่างกันด้วย  บางครั้งอำนาจหน้าที่และโครงสร้างจะมีประสิทธิผลสำหรับงานเฉพาะบางอย่าง  มีงานวิจัยหนึ่งซึ่งเสนอแนะว่าแนวคิดที่แตกต่างกันจะมีประสิทธิผลในสถานการณ์ที่แตกต่างกันด้วย

ดังนั้นองค์การที่ผลิตสินค้าก็เป็นสถานการณ์หนึ่งซึ่งต้องการบุคคลและ

สถานการณ์เฉพาะอย่างแนวคิดของการจัดการตามหลักพฤติกรรมศาสตร์ของการจูงใจ  (The  Behavioral  Management  Approach  to  Motivation)  นักทฤษฎีนี้มุ่งที่ปัจจัยด้านพฤติกรรมที่มีผลกระทบจากการจูงใจ  ซึ่งจากการค้นพบที่โรงงาน  เฮวโทรน  ของ  เอลตัน  มาโย  และบุคคลอื่นในเวสเทิร์น  อิเลคทริค  (Western  Electrion)  ผู้วิจัยการจัดการพฤติกรรมศาสตร์เริ่มสำรวจบทบาทของความสัมพันธ์ของมนุษย์ในการจูงใจ  ผู้บริหารที่ต้องการใช้เทคนิคการจัดการตามหลักพฤติกรรมศาสตร์  จะต้องสร้างความรู้สึกในความสำคัญ  และความเกี่ยวข้องของพนักงานในอดีตที่ผ่านมานักทฤษฎีการจัดการตามหลักพฤติกรรมศาสตร์  เช่น  ดั๊กกลาส  แม็คเกรย์เกอร์  ได้เสนอกระบวนการของการจูงใจ  คือ  ทฤษฎี  X  และทฤษฎี  Y  โดยทฤษฎี  X  มีแนวคิดด้านการจัดการแบบดั้งเดิม  (Traditional  Management)  มองว่าพนักงานเกียจคร้าน  ไม่สนใจทำงานและต้องมีการบังคับให้ทำงาน  ส่วนทฤษฎี  Y  มีแนวคิดว่าพนักงานมีความคิดสร้างสรรค์และมีความสนใจในการทำงานที่มีความสำคัญ  แม็คเกรย์เกอร์  เชื่อว่าพนักงานเต็มใจที่จะให้ผลประโยชน์และใช้สติปัญญาในการทำงานให้กับองค์การ  โดยเสนอว่าผู้บริหารควรจูงใจพนักงานโดยการให้โอกาสในการพัฒนาสติปัญญา  และให้เสรีภาพในการเลือกวิธีการทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย  บทบาทของผู้บริหารในความหมายของ  แม็คเกรย์เกอร์  ไม่ใช่การควบคุมพนักงาน  แต่จะต้องสนับสนุนให้เห็นถึงความต้องการขององค์การ  และแปลงความต้องการนี้มาสู่ความต้องการของพนักงาน  เพื่อให้พนักงานสามารถควบคุมตัวเองและการทำงานที่จะสามารถสนองการจูงใจได้จากการศึกษาทฤษฎี  2  ปัจจัยของ  เฮอร์เบิร์ก  (Herzberg’s  Two-factor  Theory)  และทฤษฎี  X  และทฤษฎี  Y  ของ  แม็คเกรย์เกอร์

สรุปได้ว่าทฤษฎีทั้ง  2  ทฤษฎีที่ว่าด้วยพฤติกรรมของคนซึ่งการที่จะทำให้คนต่าง ๆ  เหล่านั้นมีพฤติกรรมไปในทางที่ดี  สร้างสรรค์  และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการปฏิบัติงานนั้น  จำเป็นจะต้องมีการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจ  ซึ่งจะก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานและประโยชน์ต่อองค์การ  ซึ่งจะทำให้องค์การนั้น ๆ  สามารถบรรลุเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ในที่สุด

2.3 ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกผันต่อองค์กร

มาตรฐาน

Steers R.M. (1997)  ได้แบ่งปัจจัยที่มีผลต่อความความผูกพนขององค์กรเป็น 3 กลุ่ม  คือ

             1.  คุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้ปฏิบัติงาน (Personal  Characteristic)   ประกอบด้วย   อายุ      เพศ  สถานภาพสมรส  ระดับการศึกษา  ระยะเวลาการปฏิบัติงาน  ระดับตำแหน่งและอัตราเงินเดือน

2.  คุณลักษณะงานที่ปฏิบัติ  (Job  Characteristix)  ลักษณะงานที่แตกต่องกัน 

จะมีอิทธิพลต่อระดับความยึดมั่น  ผูกพันต่อองค์กรแตกต่างกัน  ลักษณะงานที่ดีจะทำให้บุคลากรรู้สึกมีแรงจูงใจอยากทำงานเพื่อเพิ่มค่าให้กับตนเอง แม้ว่าผลงานจะไม่ดีก็ยังทุ่มเทความพยายามให้มากขึ้น  เพื่อเพิ่มรางวัลให้กับตนเองและคุณภาพงานและคุณภาพงานที่ดีขึ้น  (นาฎยา  อ่วมผึ้ง, 2544 ) ลักษณะงานที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กรได้แก่

                                      2.1 ความมีอิสระในการทำงาน หมายถึง ลักษณะงานที่บุคคล

สามารถปฏิบัติได้อย่างมีอิสรภาพ ตามบทบาทหน้าที่ของตนเอง สามารถใช้ดุลยพินิจและตัดสินใจได้ด้วยตนเอง  โดยไม่มีการควบคุมจากภายนอก จะทำให้บุคลากรปฏิบัติงานได้เต็มความรู้ความสามารถ                                          

1.2   ความหลากหลายของงาน หมายถึง งานที่มีระดับความยากง่าย

ของงานที่ผู้ปฏิบัติต้องใช้ความรู้ความสามารถ มีลักษณะที่ไม่จำเจ  หรือการทำกิจกรรมหลาย ๆ อย่างของหน่วยงานให้สำเร็จผล รวมถึงการใช้เทคโนโลยีพิเศษจึงเป็นงานที่ท้าทาย และกระตุ้นให้บุคลากรมีความสนใจในงาน

                                           2.3  ความมีเอกลักษณ์ของงาน หมายถึง งานที่ระบุขอบเขตของงาน มีความชัดเจน ของบทบาทหน้าที่ของตนเองในการปฏิบัติงาน เป็นระดับความยากง่ายของผู้ปฏิบัติสามารถทำงานนั้นตั้งแต่ต้นจนบังเกิดผลงาน ทำให้บุคคลเกิดความรู้สึกสบายใจที่จะปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ถูกต้อง  และมีผลงานที่สามารถพิจารณาได้ชัดเจน

                           2.4  ผลย้อนกลับของงาน เมื่อบุคลากรปฏิบัติงานให้แก่องค์กรแล้ว ก็ต้องได้รับข้อมูลป้อนกลับของตนเอง รวมทั้งข้อคิดเห็นที่ได้รับจากผู้ร่วมงาน หรือผู้บังคับบัญชาเพื่อเป็นการประเมินผลงานว่ามีประสิทธิภาพและประสิทธิผลหรือไม่

                            2.5  งานที่มีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น หมายถึง  ลักษณะงานที่บุคลากรมีโอกาสที่จะติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่น  การได้เข้าสังคมทำให้มีโอกาส ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคนอื่นก่อให้เกิดความคิดหลากหลายในการพัฒนาตนเอง  ในการพัฒนางาน เมื่อมีสัมพันธภาพกับผู้อื่นก็จะกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกว่า ตนเองเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร เป็นเจ้าขององค์กร และจะรู้สึกผูกพันกับองค์กร

                       3.  ประสบการณ์ในงาน (Work  Experience)  หมายถึง  การรับรู้ของสมาชิกต่อสิ่งแวดล้อมในช่วงปฏิบัติงาน ประสบการณ์ที่ได้รับเป็นคุณหรือโทษ  มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรโดยกำหนดไว้ 4 ลักษณะได้แก่

                   3.1   ความรู้สึกว่าตนมีความสำคัญต่อองค์กร  คือ ความรู้สึกว่าตนเองได้รับการยอมรับจากองค์กร รู้ให้สึกว่าการปฏิบัติงานของตนมีคุณค่าเป็นเสมือนรางวัลขององค์กรที่ให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน ทำให้เกิดความรู้สึกจงรักภักดี และคิดว่าตนเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร

                   3.2   ความรู้สึกว่าองค์กรเป็นที่พึงพาได้  เป็นความรู้สึกไว้วางใจเชื่อถือของบุคคลที่มีต่อองค์กร ว่าองค์กรจะไม่ทอดทิ้งเมื่อเขาประสบปัญหา

                   3.3   ความคาดหวังที่ได้รับการตอบสนองจากองค์กร หมายถึง  การที่บุคลากรได้ลงทุนปฏิบัติงานกับองค์กรแล้ว  ก็หวังจะได้รับผลตอบแทน เช่น  ค่าตอบแทน การพิจาณาความดี ความชอบ  ทำให้มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน และเป็นปัจจัยที่สร้างความผูกพันต่อองค์กร

                                3.4   ทัศนคติต่อเพื่อนร่วมงานและองค์กร ทัศนคติของกลุ่มภายในองค์กรนั้น   ทำให้บรรยากาศในองค์กรแตกต่างกัน  บรรยากาศขององค์กรที่ดี  มีความรักความสามัคคีช่วยเหลือร่วมมือกันปฏิบัติงาน ทำให้บุคลากรรู้สึกวาทัศนคติของกลุ่มดี  ก็จะส่งผลให้เกิดความรู้สึกที่จะอยู่กับองค์กรต่อไป

3. ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความผูกพันต่อองค์กร

มาตรฐาน

3.1 ทฤษฎีการลงทุน (Side-bet theory.1960) เบคเกอร์และคาร์เพอร์ (Becker & Carper. 1956).

ได้คิดทฤษฎีที่ พัฒนามาจากกรอบการศึกษาของแนวคิดเชิง exchange หรือที่เรียกว่า reward-cost notation ซึ่งสาระสำคัญที่เสนอไว้ คือ แนวคิดที่อธิบายถึงเหตุผลที่บุคคลเกิดความผูกพันต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นเพราะว่าบุคคลนั้นได้สร้างการลงทุน (side-bet) ต่อสิ่งนั้นๆไว้ เพราะฉะนั้นถ้าเขาไม่มีความผูกพันต่อสิ่งนั้นต่อไปก็จะทำให้เขาสูญเสียมากกว่าการผูกพันไว้ จึงเป็นสิ่งที่ต้องทำโดยไม่มีทางเลือก ระดับความสำคัญของการลงทุนในบางประการจะผันแปรตามมิติระยะเวลา กล่าวคือ คุณภาพของสิ่งที่ลงทุนไปจะมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นตามระยะเวลาที่บุคคลได้เสียไปในเรื่องนั้นๆ เช่น ตัวแปรอายุการทำงานในองค์กร บุคคลที่ทางานให้กับองค์กรนานเท่าใดก็จะทำให้เกิดการสะสมทรัพยากรที่จะได้รับจากระบบการจ้างงานขององค์กรมากขึ้นในรูปของเงินเดือน สวัสดิการ และอำนาจหน้าที่หรือสิ่งที่ได้อุทิศในรูปของกาลังกายและกาลังใจ ดังนั้นบุคคลที่ทำงานอยู่กับองค์กรนานย่อมตัดสินใจลาออกจากองค์กรได้ยากลำบากกว่าคนที่ทำงานกับองค์กรมาไม่นาน เพราะเขาจะพิจารณาว่าหากลาออกจากองค์กรก็เท่ากับว่าการลงทุนของเขาที่ได้สะสมไว้ย่อมสูญเสียไปด้วย ซึ่งอาจจะไม่คุ้มค่ากับผลประโยชน์ที่จะได้รับจากองค์กรใหม่

3.2 ทฤษฎีลำดับขั้นของความต้องการของ Maslow (Hierarchy of needs.1970) Maslow ได้เสนอทฤษฎีลาดับขั้นของความต้องการ (Hierarchy of needs) ซึ่งอธิบายถึงความต้องการและความพอใจของมนุษย์ทั้ง 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1. ความต้องการทางด้านกายภาพ (Physiological Needs) เป็นลำดับ ขั้นที่ต่ำที่สุด เป็นความต้องการพื้นฐานของความต้องการทั้งหมด ซึ่งเป็นความต้องการในสิ่งที่จำเป็นต่อร่างกายและการดำรงชีวิต เช่น น้าดื่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค Maslow บอกว่าสิ่งเหล่านี้คือสิ่งจำเป็นสำหรับการมีชีวิตอยู่ หากยังไม่มีสิ่งเหล่านี้เราจะยังไม่นึกถึงความต้องการในขั้นอื่นๆ ความต้องการพื้นฐานจะเป็นสิ่งจูงใจให้เราหาสิ่งเหล่านั้นมา เมื่อได้ตามความต้องการแล้วจึงจะคำนึงถึงความต้องการขั้นอื่นๆ ต่อไป 2. ความต้องการความปลอดภัย (Safety Needs) ประกอบด้วย ความ ต้องการที่จะปลอดภัยและมั่นคง ต้องการอิสระ ความมั่นคง ขจัดความกลัวและความกังวล ซึ่งเป็นความปลอดภัยทั้งด้านร่างกายและจิตใจในด้านการทำงาน ความต้องการความปลอดภัยทางกาย เช่น มีเครื่องมือป้องกันขณะปฏิบัติงานทางด้านจิตใจ เช่น มีประกันสุขภาพ สัญญาจ้างงาน เป็นต้น 3. ความต้องการการยอมรับหรือความผูกพัน (Acceptance or Affiliation Needs) ประกอบด้วย ความต้องการเข้าร่วมกลุ่มและความต้องการมีคู่ครอง คนเราต้องการการพบปะพูดคุยเข้าร่วมกลุ่มกับบุคคลอื่นในสังคม รวมทั้งต้องการมีคนรักและเข้าใจ

4. ความต้องการมีฐานะทางสังคมและรู้สึกว่าตนมีค่า (Status Needs and Self-esteem NeedS) เมื่อคนต้องการมีสังคมแล้วก็จะต้องการมีฐานะทางสังคมที่ดีกว่าบุคคลอื่นๆ ส่วนการรู้สึกว่าตนมีคุณค่านั้นเป็นความรู้สึกภายในที่มีความมั่นใจและรู้สึกว่าตนมีความสามารถ ฐานะทางสังคมมาจากตำแหน่ง รางวัล การเลื่อนขั้นหรือการเพิ่มความรับผิดชอบ การรู้สึกว่าตนมีคุณค่ามาจากการเป็นที่รู้จัก ประสบความสำเร็จและน่าเชื่อถือ บางคนเมื่อถึงขั้นนี้ก็เพียงพอแล้ว แต่บางคนต้องการมากกว่านั้น 5. ความต้องการได้รับความสำเร็จสูงสุดในชีวิต (Self-actualization Needs) ได้แก่ ความต้องการที่จะได้รับความสำเร็จตามความนึกคิด หรือสิ่งที่ตั้งความปรารถนาสูงสุดเอาไว้ โดยใช้ความสามารถทุกๆอย่างที่มีอยู่ คือ การไปให้ถึงศักยภาพสูงสุดที่ทั้งนี้แต่ละคนย่อมมีความรู้สึกนึกคิดแตกต่างกันไป

2. แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความผูกพันต่อองค์กร

มาตรฐาน

2.1  ความหมายของความผูกพันต่อองค์กร

David (1994)   ได้ให้ความหมายว่าเป็นความสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งของแต่ละ

บุคคลที่มีต่อองค์กรโดยจะแสดงออกมา  3  ลักษณะ ได้แก่

1.  มีความเชื่อมั่นอย่างแรกกล้า และมียอมรับในค่านิยม  และเป้าหมายของ

องค์กร

2.  มีความเต็มใจที่จะทุ่มเทเพื่อสนับสนุนองค์กรอย่างเต็มความสามารถ

3.  มีความต้องการอย่างมากที่จะรักษาความเป็นสมาชิกขององค์กร

Buchanun  (1974, อ้างใน เอื้อมพร แอ่มไร่, 2546) ได้ให้คำนิยามความผูกพัน

ขององค์กรหมายถึง

  1. การระบุตนเองเข้ากับองค์กร (Identification) ด้วยความเต็มใจที่จะ

ปฏิบัติงาน และยอมรับในค่านิยมและวัตถุประสงค์ขององค์กร โดยถือเสมือนเป็นของตน

  1. การเข้ามามีส่วนเกี่ยวพันในองค์กร (Identification)  โดยการเข้ามามีส่วน

ร่วมในกิจกรรมขององค์กรตามบทบาทหน้าที่ของตนอย่างเต็มความสามารถ

3.  ความจงรักภักดีต่อองค์กร (Loyalty) รู้สึกผูกพันต่อองค์กร

 2.2   ความสำคัญของความผูกพันต่อองค์กร

                          ความผูกพันต่อองค์กรมีความสำคัญยิ่งต่อองค์กรในประเด็นดังต่อไปนี้

  1. ความผูกพันต่อองค์กรสามารถให้ทำนายอัตราการเข้าออก 

ลาออกและการเปลี่ยนงาน (Turnover) ได้ดีกว่าความพึงพอใจในงาน เนื่องจากความผูกพันต่อองค์กรมีแนวคิดที่ครอบคลุมมากกว่า กล่าวคือความผูกพันต่อองค์กรสามารถสะท้อนถึงความรู้สึกของพนักงานที่มีต่อองค์กรซึ่งมีลักษณะที่ยาวนานกว่าความพึงพอใจ

  1. ความผูกพันต่อองค์กรเป็นตัวแปรสำคัญอย่างหนึ่งในการทำนาย

แรงจูงใจในการเข้างานของพนักงาน  และเป็นแรงผลักดันให้พนักงานในองค์กรสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  เนื่องจากความรู้สึกในความเป็นเจ้าของร่วมภายในองค์กร

  1. ความผูกพันต่อองค์กรเป็นตัวเชื่อมประสานระหว่างความ

ต้องการของบุคคลในองค์กรกับเป้าหมายขององค์กร เพื่อช่วยให้องค์กรบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ เนื่องจากเมื่อพนักงานเกิดความผูกพันกับงานย่อมทุ่มเทแรงกายแรงใจให้กับงานและกิจกรรมต่างๆ  ขององค์กร ส่งผลให้องค์กรสามารถที่จะบรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้

                                      4. ความผูกพันต่อองค์กรที่ส่วนเสริมสร้างความมีประสิทธิภาพและ

ประสิทธิผลขององค์กร

3.2 ทฤษฎีลำดับขั้นของความต้องการของ Maslow (Hierarchy of needs.1970)

มาตรฐาน

Maslow ได้เสนอทฤษฎีลาดับขั้นของความต้องการ  (Hierarchy of

needs) ซึ่งอธิบายถึงความต้องการและความพอใจของมนุษย์ทั้ง 5 ขั้นตอน ดังนี้

  1. ความต้องการทางด้านกายภาพ (Physiological Needs)  เป็นลำดับ

ขั้นที่ต่ำที่สุด เป็นความต้องการพื้นฐานของความต้องการทั้งหมด ซึ่งเป็นความต้องการในสิ่งที่จำเป็นต่อร่างกายและการดำรงชีวิต เช่น น้าดื่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค Maslow บอกว่าสิ่งเหล่านี้คือสิ่งจำเป็นสำหรับการมีชีวิตอยู่ หากยังไม่มีสิ่งเหล่านี้เราจะยังไม่นึกถึงความต้องการในขั้นอื่นๆ ความต้องการพื้นฐานจะเป็นสิ่งจูงใจให้เราหาสิ่งเหล่านั้นมา เมื่อได้ตามความต้องการแล้วจึงจะคำนึงถึงความต้องการขั้นอื่นๆ ต่อไป

  1. ความต้องการความปลอดภัย (Safety Needs) ประกอบด้วย ความ

ต้องการที่จะปลอดภัยและมั่นคง ต้องการอิสระ ความมั่นคง ขจัดความกลัวและความกังวล ซึ่งเป็นความปลอดภัยทั้งด้านร่างกายและจิตใจในด้านการทำงาน ความต้องการความปลอดภัยทางกาย เช่น มีเครื่องมือป้องกันขณะปฏิบัติงานทางด้านจิตใจ เช่น มีประกันสุขภาพ สัญญาจ้างงาน เป็นต้น

         3. ความต้องการการยอมรับหรือความผูกพัน (Acceptance or Affiliation

Needs) ประกอบด้วย ความต้องการเข้าร่วมกลุ่มและความต้องการมีคู่ครอง คนเราต้องการการพบปะพูดคุยเข้าร่วมกลุ่มกับบุคคลอื่นในสังคม รวมทั้งต้องการมีคนรักและเข้าใจ

                                   4. ความต้องการมีฐานะทางสังคมและรู้สึกว่าตนมีค่า (Status Needs

and   Self-esteem NeedS)  เมื่อคนต้องการมีสังคมแล้วก็จะต้องการมีฐานะทางสังคมที่ดีกว่าบุคคลอื่นๆ ส่วนการรู้สึกว่าตนมีคุณค่านั้นเป็นความรู้สึกภายในที่มีความมั่นใจและรู้สึกว่าตนมีความสามารถ ฐานะทางสังคมมาจากตำแหน่ง รางวัล การเลื่อนขั้นหรือการเพิ่มความรับผิดชอบ การรู้สึกว่าตนมีคุณค่ามาจากการเป็นที่รู้จัก ประสบความสำเร็จและน่าเชื่อถือ บางคนเมื่อถึงขั้นนี้ก็เพียงพอแล้ว แต่บางคนต้องการมากกว่านั้น

     5. ความต้องการได้รับความสำเร็จสูงสุดในชีวิต (Self-actualization Needs)

ได้แก่ ความต้องการที่จะได้รับความสำเร็จตามความนึกคิด หรือสิ่งที่ตั้งความปรารถนาสูงสุดเอาไว้ โดยใช้ความสามารถทุกๆอย่างที่มีอยู่ คือ การไปให้ถึงศักยภาพสูงสุดที่ทั้งนี้แต่ละคนย่อมมีความรู้สึกนึกคิดแตกต่างกันไป

3.3 ทฤษฎีความต้องการประสบความสำเร็จ (The need to achieve theory.1961)

มาตรฐาน

ทฤษฎีความต้องการประสบความสำเร็จประกอบด้วย 3 อย่าง คือ ความสำเร็จ (Achievement) อำนาจ (Power) และความผูกพัน (Affiliation) เป็นทฤษฎีของ David C.Macclelland & J.W. Atkinson ตามทฤษฎีเชื่อว่า โดยปกติแล้วความต้องการที่มีอยู่ในตัวคนมีอยู่สองชนิด คือ ความต้องการความสุขและความต้องการปราศจากความเจ็บปวด แต่สำหรับความต้องการอื่นๆนั้นต่างก็จะเกิดขึ้นภายหลัง ด้วยวิธีการเรียนรู้ แต่อย่างไรก็ตามโดยที่มนุษย์ทุกคนต่างก็ใช้ชีวิตขวนขวายหาสิ่งต่างๆมาคล้ายคลึงกัน จึงต่างมีประสบการณ์เรียนรู้ต่างๆมาเหมือนกัน แต่จะต่างกันแต่เฉพาะขนาดของความต้องการมากน้อยแตกต่างกันไป ด้วยเหตุนี้จึงสรุปได้ว่า มนุษย์ทุกคนต่างก็จะมีความต้องการเหมือนกัน แต่จะมีขนาดมากน้อยแตกต่างกัน ได้แก่ 1. ความต้องการความสำเร็จ (Need for Achievement) หมายถึง ความต้องการทำสิ่งต่างๆให้ดีขึ้นหรือมีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อความสำเร็จ บุคคลที่ต้องการความสำเร็จจะมีลักษณะชอบการแข่งขัน ชอบงานที่ท้าทาย ต้องการได้รับข้อมูลป้อนกลับเพื่อประเมินผลงาน มีความชำนาญในการวางแผน มีความรับผิดชอบสูง เช่น ในเรื่องของการแก้ปัญหาหรือการทำงานที่มีความซับซ้อนขึ้น 2. ความต้องการอำนาจ (Need for Power) หมายถึง บุคคล ต้องการอำนาจเพื่อมีอิทธิพลเหนือผู้อื่น ต้องการเป็นผู้นำในการตัดสินใจ บุคคลซึ่งต้องการอำนาจสูงจะมีความพยายามเพื่อที่จะมีอิทธิพลเหนือผู้อื่น มีความพอใจที่จะอยู่ในสถานการณ์แข่งขันหรือสถานการณ์ซึ่งมุ่งที่สถานภาพ และมีความต้องการความภาคภูมิใจ รวมทั้งการมีอิทธิพลเหนือบุคคลอื่นด้วยการทำงานที่มีประสิทธิผล 3.ความต้องการความผูกพัน (Need for Affiliation) หมายถึง บุคคล ต้องการการยอมรับ ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม ต้องการมีความสัมพันธ์และผูกพันกับสมาชิกในกลุ่ม มีความเป็นมิตรไมตรี และมีสัมพันธภาพที่ดีต่อบุคคลอื่น ซึ่งเป็นความต้องการสร้างและรักษาความสัมพันธ์ฉันท์มิตรกับคนอื่นๆ

3.4 ทฤษฎีสององค์ประกอบของเฮอร์ซเบอร์ก (Herzberg and other. 1959)

มาตรฐาน

ได้ศึกษาพบว่า มีปัจจัยหรือองค์ประกอบ 2 ประการ  ที่มีความสัมพันธ์กับ

ความพึงพอใจและไม่พึงพอใจในการปฏิบัติงาน ได้แก่ องค์ประกอบจูงใจ (Motivation Factors) และ องค์ประกอบค้ำจุน (Maintenance Factors) หรือองค์ประกอบสุขอนามัย (Hygiene Factors)

      องค์ประกอบจูงใจ (Motivation Factors) เป็นองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับ

งานที่ปฏิบัติโดยตรง และเป็นสิ่งจูงใจให้บุคลากรเกิดความพึงพอใจในการทำงาน ประกอบด้วย

  1. ความสำเร็จในการทำงาน (Achievement) หมายถึง การที่บุคคล

สามารถทำงานได้เสร็จสิ้นประสบผลสำเร็จอย่างดี สามารถแก้ปัญหาต่างๆเกี่ยวกับงาน และรู้จักป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้น

  1. การได้รับการยอมรับนับถือ (Recognition) หมายถึง การได้รับ

การยอมรับนับถือจากบุคคลในหน่วยงานหรือบุคคลอื่นๆที่มาขอคำปรึกษา ซึ่งอาจแสดงออกในรูปการยกย่องชมเชย การให้กำลังใจ การแสดงความยินดี การแสดงออกที่ทำให้เห็นถึงการยอมรับในความสามารถ

3. ลักษณะของงาน (Work itself) หมายถึง งานนั้นน่าสนใจ ต้องอาศัย

ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ท้าทายให้ลงมือทำ หรือเป็นงานที่มีลักษณะทำตั้งแต่ต้นจนจบโดยลำพัง

4. ความรับผิดชอบ (Responsibility) หมายถึง การได้รับมอบหมาย

ให้ดูแลงานใหม่ๆ และมีอำนาจอย่างเต็มที่ ไม่มีการตรวจหรือควบคุมอย่างใกล้ชิด

                                        5. ความก้าวหน้า (Advancement) หมายถึง การได้รับเลื่อนขั้น การเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้น มีโอกาสได้ศึกษาต่อเพื่อหาความรู้เพิ่มเติม ได้รับการฝึกอบรมดูงาน

องค์ประกอบค้ำจุน (Maintenance Factors) หรือองค์ประกอบ

สุขอนามัย(Hygiene Factors) เป็นองค์ประกอบที่ช่วยป้องกันการปฏิบัติงานของบุคลากรที่จะเกิดความไม่ชอบงานหรือหย่อนประสิทธิภาพลง ประกอบด้วย

  1. เงินเดือน (Salary) หมายถึง สิ่งตอบแทนการปฏิบัติงานในรูปเงิน

รวมถึงการเลื่อนขั้นเงินเดือนในหน่วยงานนั้น เป็นที่พอใจของบุคคลที่ทำงาน

  1. โอกาสที่จะได้รับความก้าวหน้าในอนาคต (Possibility of Growth)

หมายถึง ความน่าจะเป็นที่บุคคลจะได้รับความก้าวหน้าในทักษะวิชาชีพ

  1. ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน

(Interpersonal Relation, Subordinate, Peers) หมายถึง ความมีสัมพันธ์อันดีต่อกันสามารถทำงานร่วมกัน มีความเข้าใจซึ่งกันและกันเป็นอย่างดี

  1. สถานะของอาชีพ (Status) หมายถึง อาชีพนั้นเป็นที่ยอมรับและนับ

ถือของสังคม มีเกียรติและมีศักดิ์ศรี

                                     5. นโยบายและการบริหาร (Company Policy and Administration) หมายถึง การจัดการและการบริหารงานขององค์กร การติดต่อสื่อสารภายในองค์กรที่มีประสิทธิภาพ

                                    6 .สภาพการทำงาน (Working Condition) หมายถึง สภาพทางกายภาพของาน

เช่น  แสง เสียง อากาศ รวมทั้งลักษณะสิ่งแวดล้อมอื่นๆ เช่น อุปกรณ์หรือเครื่องมือต่างๆ

                                    7. ชีวิตส่วนตัว (Personal Lift) หมายถึง สภาพความเป็นอยู่ส่วนตัวที่เกี่ยวข้อง

กับงาน เช่น การไม่ถูกย้ายไปทำงานในที่แห่งใหม่ซึ่งห่างไกลครอบครัว

         8. ความมั่นคงในงาน (Job Security) หมายถึง ความรู้สึกของบุคคลที่มี

ต่อความมั่นคงในการทำงาน

                                     9. การปกครองบังคับบัญชา (Supervision) หรือการนิเทศงาน หมายถึง

ความสามารถหรือความยุติธรรมของผู้บังคับบัญชาหรือผู้นิเทศงานในการดำเนินงานและการบริหารงาน